จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดที่มีประชากรแฝงเป็นจำนวนมากเนื่องจากมีสถานศึกษาและชุมชนอยู่ร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากการมีประชากรแฝงจำนวนมากคือขยะ แล้วขยะทั้งหมดที่มีมากมายเหล่านี้เมื่อถูกทิ้งแล้วนำไปที่ไหนต่อ ? นี่เป็นประโยคคำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัย ขยะทั้งหมดที่มีรถขยะเข้ามาเก็บทุก ๆ เช้าถูกนำไปทิ้งที่ไหนต่อแล้วมีกระบวนการจัดการกับขยะเหล่านี้อย่างไร มีการคัดแยกขยะหรือไม่นั้น บทความนี้จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยกัน
ซึ่งบ่อขยะของจังหวัดสารคามนั้นไม่ได้มีการคัดแยกขยะใด ๆ ทุกอย่างถูกรวมนำไปทิ้งทับถมกันเรื่อย ๆ มีเพียงแต่วิธีการกำจัดขยะและรับมือกับมลพิษที่เกิดจากขยะเบื้องต้นอยู่ดังนี้

บ่อบำบัดน้ำเสียโดยระบบของการบำบัดน้ำเสีย คือการทำแนวทิศทางการไหลของน้ำจากขยะมูลฝอยให้ไหลมารวมกันอยู่ในบ่อแล้วมีการหมุนเวียนของน้ำในบ่อ จากบ่อที่ 1 ไปยังบ่อที่ 2 เป็นวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยและเป็นการควบคุมมลพิษจากขยะ และยังมีเทคโนโลยีที่สามารถแปลเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงได้

การฝั่งขยะหรือฝั่งกลบเป็นการกำจัดขยะที่เป็นชิ้นส่วนต่างๆด้วยการถมเพื่อใหhย่อยสละไปเองตามธรรมชาติแต่คงต้องใช้เวลำเป็น40-50ปีแต่นี่ก็เป็นวิธีที่ช่วยลดมลพิษได้ดีที่สุดถึงแม้จะต้องใช้เวลานานและการฝั่งกลบมี 2 รูปแบบคือการขุดหลุมแล้วฝังกับกลบทับไปเลย โดย 2 วิธีนี้ต่างกันคือถ้าหากขุดหลุมจะทำให้มีพื้นที่มากขึ้นและสามารถกำจัดขยะได้ อีกหลายหลุม และการกำจัดขยะจะไม่มีการใช่ไฟเผาแบบเมื่อก่อน เพราะรู้กันดีว่าการใช้วิธีเผานั้นจะ สร้างมลลพิษในอากาศและการเผาขยะจะสร้างมลพิษมากกว่าการเผาไหม้ของไม้หรือหญ้า

โดยภาพขยะที่เห็นคือ บ่อขยะของจังหวัดมหาสารคาม ที่บริเวณรอบๆจะเต็มไปด้วยหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียงและ บ่อขยะที่นี่ก็เป็นสถานที่ประกอบอาชีพของคนในบริเวณนี้อีกไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสียหรือฝังกลบ โดยหนึ่งปี มีขยะที่ถูกทิ้งเกือบล้านล้านตันต่อปี และหนึ่งปีถึงจะมีการจัดการขยะโดยวิธีการต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ส่วนวิธีการเลือกการกำจัดขยะจะเลือกในช่วงหน้าร้อนอย่างเดียวและสะสมขยะในช่วงหน้ำฝนและหน้าหนาว เพราะหน้าร้อนเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการฝังกลบ
เรียบเรียงโดย : อดิศร จันหอม ถ่ายภาพโดย : กฤตภาส อาจรักษา