More
    Sunday, February 27, 2022

    ของเก่าก็มีราคา กิจการซื้อขายขยะ

    -

    ขยะ เกิดจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน แต่ละกิจกรรมล้วนมีการใช้ทรัพยากรหลายอย่างที่มี
    การใช้แล้วทิ้งอย่างห็นคุณค่า ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิ่งของที่พังหรือเสียไปแล้วถูกนำไปทิ้ง จนเกิดเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมตามมาในที่สุด เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็มีแนวทางการแก้ไขหลากหลายวิธีที่ขึ้นอยู่กับบริบทของคนในสังคม

    โดยอีกหนึ่งแนวทางแก้ปัญหาคือการ ขายขยะ หรือที่เรียกว่า ของเก่า ให้แก่ผู้ที่รับซื้อหรือกิจการรับซื้อ
    ของเก่าที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อรับซื้อสินค้าที่เป็นของเก่า ขยะรีไซเคิล พลาสติก เหล็ก ฯลฯ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและ
    นำขยะเหล่านั้นกลับไปสู่ขัั้นตอนการผลิตซ้ำา หลอมขึ้นใหม่ โดยขายของเก่าเหล่านี ้ให้แก่โรงงานที่ต้องการใช้
    สินค้ารีไซเคิลเพื่อลดต้นทุนในการผลิต

    คุณณัฎฐ์ภัสสร ชัยเสริม เจ้าของกิจการรับซื้อของเก่า ทรัพย์เจริญ พาณิชย์ กล่าวว่า“เรียกง่ายก็ร้านรับซื้อของเก่านะคะ ร้านเจ๊เป็นเหมือนค้าคนกลางในการรับซื้อของเก่าที่เปิดให้ลูกค้า คนในชุมชน ซาเล้ง คนที่ทำอาชีพขายของเก่าได้นำาของเก่าหรือขยะรีไซเคิลมาขายที่นี่ บางคนทำเป็นอาชีพ บางคนเก็บสะสมไว้เรื่อย ๆ แล้วเอามาขาย เจ๊ก็เอาไปขายให้โรงงานต่อที่เขารับเพื่อที่จะเอาไปหลอมต่อ เรารับซื้ออีกราคาหนึ่ง เอาไปขายอีกราคาหนึ่ง บวกลบค่าเดินทางบวกกำไรเข้าไป อาจจะไม่ค่อยเยอะ เพราะช่วงนี้ราคามันต่ำ แต่เราอยากรับซื้อกับคนที่เขาไม่รู้ว่าจะเอาขยะเหล่านนั้ ไปทิ้งที่ไหนเพราะขยะบางชิ้นถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย มันยังสามารถเอามาใช้ประโยชน์ได้โดยการนำาไปรีไซเคิล ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ พลาสติก ขวดแก้วหรือเหล็ก ทุกประเภทเลยค่ะที่สามารถเอาไปขายต่อได้”

    “ช่วงนี้ลูกค้าเข้ามาขายเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจด้วย มันบังคับเขาต้องหารายได้เพิ่ม ด้วยความที่เขาเป็นชาวบ้านหาเช้ากินค่ำค่ะ ถ้าเขาไม่หามาขาย เขาก็ไม่มีรายได้ มันเป็นอีกทางเลือกของอาชีพ เราสงสารเขานะถ้าราคาขยะมันตกต่ำมาก ๆ เขาไม่มีกำลังใจจะเก็บของมาขายอีก ร้านเจ๊ขึ้นอยู่กับลูกค้าด้วย ถ้าลูกค้าอยู่ได้ ร้านเจ๊ก็อยู่ได้ มันเป็นผลประโยชน์แบบเอื้อหนุนกัน”

    “การรับซื้อของขยะจากจีนส่งผลกระทบมาก มีช่วงหนึ่งที่ราคากระดาษตกต่ำมาก ชาวบ้านหรือซาเล้งเขาเก็บขยะมาขายที่ร้านเป็นปกติใช่ไหม จะได้กำไรกิโลละ 2-3 บาท พอมีการนำขยะจากจีนเข้ามาราคามันตกลงไปมาก อย่างร้านเจ๊รับซื้อกิโลละ 1 บาท ถ้าไปรับซื้อจากชาวบ้านล่ะ ซึ่งคนที่เขารับซื้อในราคากิโลละ 50 สตางค์ ชาวบ้านก็ไม่มีใครอยากเก็บมาขายเพราะมันไม่คุ้ม พอราคาขยะมันตก เจ๊จะเอาไปขายต่อให้โรงงาน จากที่เอาไป 2-3 ตันได้จะได้กำไรเยอะ แต่พอเอาไปขายในช่วงนั้นได้กำไรน้อยมาก ไหนจะค่าลูกน้อง ค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา” คุณณัฎฐ์ภัสสรพูดจบก็หยิบสมุดจนราคาซื้อขายของเก่าให้ดูว่าราคาขยะขึ้นหรือลงเท่าไร

    “จริง ๆ ผลกระทบจากการนำเข้าขยะจีนมันยังมีอยู่บ้าง แม้ราคากระดาษจะปรับขึ้นมาแต่ราคาขยะพลาสติกกลับต่ำลง เพราะเขายังนำขยะจากต่างประเทศเข้าอยู่”

    มีลูกค้าท่านหนึ่งขับรถกระบะคันเก่าเข้ามาจอดในร้าน เรามีโอกาศได้พูดคุยด้วย จึงได้สอบถามเกี่ยวกับการนำขยะมาขาย “ผมทำนา รายได้ไม่เยอะ ผมเก็บของตามหมู่บ้านมาขาย พวกขวดที่เขาทิ้งแล้ว เห็นที่ไหนผมก็เก็บ ถ้าผมไม่ขายรายได้ผมก็น้อยลง บางทีได้เท่าไรผมเอามาขายหมด ยิ่งช่วงนี้มีวิกฤตหลายอย่าง ราคาขยะขึ้น ๆ ลง ๆ ผมขายได้ไม่ถึงยี่สิบบาทก็ยังมี ยิ่งได้น้อย ผมก็ต้องหาเก็บขวดเก็บของเก่าเยอะ ๆ เพื่อจะมาขายแลกเงินไปใช้ในแต่ละวัน” ลูกค้า(ไม่ประสงค์ออกนาม)ที่นำของมาขายพูดจบก็กลับยกลังที่บรรจุขวดแก้วให้เจ้าของร้านเพื่อที่จะนำไปชั่งกิโลขาย

    ในการนำขยะมาขายนั้น สำหรับบางร้านก็ให้ลูกค้าแยกประเภทมาอย่างชัดเจน จะสะดวกกว่าการที่รวมใส่ถุงหรือกระสอบต่าง ๆ มา เพราะขยะบางประเภทราคาต่างกัน หรือบางประเภทไม่สามารถนำมาปนกันได้ เป็นขวดแก้วที่อาจจะบรรจุสารเคมีต่าง ๆ สำหรับลูกค้าบางราย หากรู้ว่าขยะที่ตนนำมานั้นเป็นขยะประเภทมีสิ่งปนเปื้อน หรือเป็นขยะที่เกี่ยวกับทางการแพทย์ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ จะแยกมาให้โดยเฉพาะ ทำให้ง่ายต่อการนำไปแยะประเภทเพื่อขายต่อไปที่โรงงานต่างๆ

    “ขยะทุกชิ้นไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ บางชิ้นสามารถนำไปรีไซเคิลได้ บางชิ้นมันต่อชีวิตคนได้”

    คุณณัฎฐ์ภัสสรบอกอีกว่า แม้ของที่ทางร้านรับซื้อบางชิ้นไม่ได้ถูกนำไปขายต่อ เพราะไม่มีใครต้องการหรือนำไปขายต่อแต่ได้กำไรไม่เยอะ คุณณัฎฐ์ภัสสรก็ยังรับซื้อ เพราะเห็นใจคนที่เขานำมาขาย อย่างน้อยได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกให้เขาได้ อีกทั้งการรับซื้อของเก่านั้นยังเป็นการช่วยลดขยะด้วย

    เรียบเรียง/ภาพถ่ายโดย : นาราภัทร กองเพชร

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ