More
    Tuesday, March 1, 2022

    นักวิชาการกฎหมายเผย ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ คุกคามสิทธิประชาชน ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงไซเบอร์

    -

    การถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพในปัจจุบันพบเห็นได้มาก แต่กฎหมายที่ช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนกลับไม่เป็นที่ไว้วางใจแก่สังคมทำให้มีประชาชนลงชื่อคัดค้านในเว็บไซต์ change.org ในประเด็นการร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ลงมติเห็นสมควรให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญและมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วัน หลังจากประกาศร่างกฎหมายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ด้านนักวิชาการกฎหมายแจงถึงรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ว่าอาจเป็นความเสี่ยงให้นำมาใช้ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนร่าง
    พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯสนช. ได้ลงมติเห็นสมควรประกาศใช้ร่างพ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้เป็นกฎหมาย โดยร่างกฎหมายกำหนดไว้ว่าเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ที่เสี่ยงต่อภัยคุกคามไซเบอร์ โดยมีการกำหนดระดับความร้ายแรงของปัญหาไว้สามระดับคือ ไม่ร้ายแรง ร้ายแรง และวิกฤติ ผศ.ดร.ดวงเด่น นาคสีหราช อาจารย์คณะนิติศาสตร์ภาควิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัมหาสารคาม เปิดเผยประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า “การตีความที่น่าสนใจของ พ.ร.บ.นี้คือคำว่าคุกคามที่ไม่ได้ให้คำนิยามเอาไว้อย่างชัดเจน และความสงบเรียบร้อยก็ไม่ได้ให้ความหมายที่ชัดเจนไว้ ดังนั้นมันจึงตีความได้กว้าง สิ่งนี้จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และในกรณีทั้งหมดนี้รัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลของประชาชนได้หากขัดต่อความมั่นคงของรัฐ จะสามารถเช็คได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องขอหมายศาล”
    “สำหรับประชาชนคนทั่วไปอาจจะไม่เป็นปัญหามากนัก แต่สำหรับนักการเมืองหากอยากให้มีผลต่อความมั่นคงไซเบอร์ ก็แค่ขุดว่ามีการพูดคุยกับใครบ้างและคุยว่าอย่างไร เพราะหากพูดคุยเรื่องการเมืองกับใครไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สนช. ก็สามารถย้อนลึกกลับไปตรวจสอบได้ แม้จะไม่ผ่านไอดีหรือรหัส แต่ก็สามารถแฮ็กข้อมูลของเราไปได้แต่ถ้าจะมองในแง่ดีที่ว่าหากมีผู้ก่อการร้ายจึงทำ พ.ร.บ.นี้ขึ้นมาเพื่อจะดูแลเรื่องเกี่ยวข้องกับความสงบจริงๆ ก็ได้เช่นเดียวกัน แต่หากดูแล้วว่ามีความหมิ่นเหม่โดยเฉพาะเรื่องของข้อมูลส่วนตัวก็อาจถูกตรวจสอบ” ผศ.ดร. ดวงเด่นกล่าวผศ.ดร.ดวงเด่น กล่าวต่ออีกว่า กฎหมายต่างประเทศแห่งสหภาพยุโรปได้นิยามศัพท์ “ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ไว้ว่ามุ่งเน้นความมั่นคงปลอดภัยของระบบและข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญซึ่งแตกต่างจากร่างกฎหมายไซเบอร์ของไทยที่มิได้มุ่งเฉพาะความมั่นคงปลอดภัยของระบบและข้อมูลอันกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวแต่หมายความรวมถึงความมั่นคงทางการทหารและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศด้วยทั้งนี้ ผศ.ดร.ดวงเด่น ยังกล่าวถึงประเด็นที่น่ากังวลในการร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ว่ายังไม่มีผลบังคับใช้เนื่องจากเพิ่งผ่านการลงประชามติการร่าง พ.ร.บ.และยังคงใช้คำว่าร่างนำหน้า แต่ประชาชนหลายคนอาจเข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้เกิดความกังวลต่อรัฐ ที่จะเข้ามาควบคุมสิทธิของตนเองในการแสดงออกทางความคิดเห็นด้านการเมือง ที่กำลังเป็นที่พูดถึงในปัจจุบันสิทธิที่ถูกละเมิดจากบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ได้ให้ความหมายของคำว่าความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ว่า เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศให้สามารถปกป้อง ป้องกันหรือรับมือต่อสถานการณ์ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตเครือข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผศ.ดร.ดวงเด่น ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิที่ประชาชนอาจจะถูกละเมิดว่า “เพราะรัฐ ให้นิยามของคำว่า คุกคามทางไซเบอร์ไว้กว้างมาก ทำให้เมื่อมีภัยคุกคามเกิดขึ้นและสิ่งที่รัฐตีความไม่ได้ให้ความหมายอย่างชัดเจนคือคำว่าคุกคามไซเบอร์ร้ายแรง และอะไรคือคำว่าคุกคามร้ายแรงก็ไม่ได้ให้ความหมายไว้ ซึ่งหากรัฐอยากจะจับกุมก็สามารถตีความว่าให้สิ่งนั้นเป็นภัยคุกคามหรือตีความว่ากระทบต่อความสงบเรียบร้อยและผิดต่อศีลธรรมอันดี และสามารถใช้อำนาจยึดค้น เจาะหรือขอข้อมูล ซึ่งประชาชนไม่สามารถอุทธรณ์เพื่อยับยั้งได้และไม่สามารถฟ้องศาลในกรณีที่รัฐ เจาะข้อมูลเรา แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกกระทบสิทธิ์คือคนที่เป็นเจ้าของข้อมูลไม่มีสิทธิ์เรียกร้องขอสิทธิ์ใดๆ เลย”
    “ข้อควรระวังที่ทำให้ผิดต่อ พ.ร.บ.เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว ควรระวังเรื่องการแสดงความคิดเห็นที่มันไปขัดต่อคำนิยามที่รัฐให้ไว้ เช่น การโพสต์ข้อความจะไปก่อการร้ายว่าฉันจะไปฆ่ารัฐ อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ควรจะโพสต์ ถึงแม้ว่าจะโพสต์ไปด้วยความหัวร้อนแล้วลบก็อาจจะส่งผลให้ผิด เพราะคำนิยามใช้คำว่าความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐ” ผศ.ดร.ดวงเด่นกล่าวและจากแคมเปญรณรงค์คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ผ่านเว็บไซต์ www.change.org พบว่ามีผู้สนับสนุนแล้ว 69,633 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2562) โดยมีเป้าหมายให้ขอชื่อผู้สนับสนุนเป็น 75,000 คน แสดงให้เห็นว่ายังมีประชาชนไม่เห็นด้วยกับการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้อีกจำนวนมาก ผศ.ดร.ดวงเด่น ยังได้กล่าวถึงการลงชื่อคัดค้านในเว็บไซต์ www.change.org ว่าอาจไม่มีผลต่อรัฐ ในการถอดถอน พ.ร.บ. เพราะหากไม่ขัดต่อกฎหมายสูงสุดก็ไม่สามารถไปคัดค้านได้ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญปีพ.ศ.2560มาตรา 133(3) จะบัญญัติไว้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ การลงชื่อในเว็บไซต์ www.change.org ก็เป็นแค่เสียงเล็กๆ ที่ไม่สามารถทำอะไรได้พรบ ไซเบอร์-01

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ