ศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง จ.มหาสารคาม รับบริจาคเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยใน จ.อุบลราชธานี ได้มีเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกและทดแทนเมล็ดพันธุ์ที่สูญเสียไปกับน้ำท่วม โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศและนิสิตจิตอาสาที่ช่วยคัดแยกเมล็ดพันธุ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม 2562 ศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมเปิดรับบริจาคเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบอุทกภัยใน จ.อุบลราชธานี โดย นางมาลี สุปันดี เจ้าหน้าที่เกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานและผู้จัดการศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง เผยว่า “กิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นจากคนที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืน ซึ่งทางบ้านสวนซุมแซงได้มองเห็นปัญหาและอยากที่จะแบ่งปันสิ่งที่ตัวเองมีให้กับเพื่อนเกษตรกร ซึ่งปีนี้ก็ไม่ใช่ปีแรกที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น แต่เมื่อมีภัยพิบัติหรือสถานการณ์ที่ไหน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ก็จะสอบถามกันว่าเราพอจะช่วยอะไรได้บ้างเราก็จะช่วยกัน”
โดยกลุ่มเครือข่ายที่ส่งมอบเมล็ดพันธุ์มาให้กับศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซงคือเครือข่ายที่ทำเกษตรอินทรีย์กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งบางกลุ่มก็ไม่รู้จักกัน แต่เมื่อทางศูนย์การเรียนรุ้บ้านสวนประกาศเปิดกิจกรรมนี้ก็ทำให้เกิดความสนใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและก็ส่งเมล็ดพันธุ์มาให้อย่างล้นหลาม เช่นกลุ่มสหกรณ์อินทรีย์กรีนเนท ที่แม่ทา จ.เชียงใหม่ หรือเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จ.ปราจีนบุรี จ.สงขลา และเครือข่ายที่ทำเกษตรกรยั่งยืน ในจ.มหาสารคาม
โดยเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์นี้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเช่น บวบ ฟัก ถั่ว ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วแขก มะเขือ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองหรือเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน เพื่อที่จะส่งต่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ไปตั้งตัวในการเพาะปลูกและทดแทนเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรที่สูญเสียไปกับน้ำท่วมในระยะยาว ทั้งนี้ยังมีการจัดทำทะเบียนเมล็ดพันธุ์เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรที่จะเอาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้รู้ที่มาของเมล็ดพันธุ์ว่าเมล็ดพันธุ์นี้มาจากไหน ใครเป็นเจ้าของพันธุ์
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม 2562 ศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมเปิดรับบริจาคเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบอุทกภัยใน จ.อุบลราชธานี โดย นางมาลี สุปันดี เจ้าหน้าที่เกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานและผู้จัดการศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง เผยว่า “กิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นจากคนที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืน ซึ่งทางบ้านสวนซุมแซงได้มองเห็นปัญหาและอยากที่จะแบ่งปันสิ่งที่ตัวเองมีให้กับเพื่อนเกษตรกร ซึ่งปีนี้ก็ไม่ใช่ปีแรกที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น แต่เมื่อมีภัยพิบัติหรือสถานการณ์ที่ไหน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ก็จะสอบถามกันว่าเราพอจะช่วยอะไรได้บ้างเราก็จะช่วยกัน”
โดยกลุ่มเครือข่ายที่ส่งมอบเมล็ดพันธุ์มาให้กับศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซงคือเครือข่ายที่ทำเกษตรอินทรีย์กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งบางกลุ่มก็ไม่รู้จักกัน แต่เมื่อทางศูนย์การเรียนรุ้บ้านสวนประกาศเปิดกิจกรรมนี้ก็ทำให้เกิดความสนใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและก็ส่งเมล็ดพันธุ์มาให้อย่างล้นหลาม เช่นกลุ่มสหกรณ์อินทรีย์กรีนเนท ที่แม่ทา จ.เชียงใหม่ หรือเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จ.ปราจีนบุรี จ.สงขลา และเครือข่ายที่ทำเกษตรกรยั่งยืน ในจ.มหาสารคาม
โดยเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์นี้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเช่น บวบ ฟัก ถั่ว ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วแขก มะเขือ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองหรือเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน เพื่อที่จะส่งต่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ไปตั้งตัวในการเพาะปลูกและทดแทนเมล็ดพันธุ์ทางการเกษตรที่สูญเสียไปกับน้ำท่วมในระยะยาว ทั้งนี้ยังมีการจัดทำทะเบียนเมล็ดพันธุ์เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรที่จะเอาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้รู้ที่มาของเมล็ดพันธุ์ว่าเมล็ดพันธุ์นี้มาจากไหน ใครเป็นเจ้าของพันธุ์
นอกจากนี้ยังมีนิสิตจิตอาสาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามเข้ามาช่วยบรรจุเมล็ดพันธุ์และทำทะเบียนพันธุ์กับศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง
โดยนางสาวจันทร์ทิมา กะการดี นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศหนึ่งในจิตอาสาที่เข้ามาร่วมกิจกรรมกับศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซงในครั้งนี้ เล่าว่า “การที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมนี้มาจากคำแนะนำของอาจารย์ประจำเอก ซึ่งกิจกรรมในวันนี้จะมีการบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อที่จะได้นำเมล็ดพันธุ์พืชเหล่านี้ไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องที่ประสบภัยน้ำท่วมและได้จัดทำทะเบียนพันธุ์ทำให้ได้ความรู้และข้อมูลเรื่องเมล็ดพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ตัวเราเองเราเป็นลูกหลานของเกษตรกร ก็จะรู้ว่าเมล็ดพันธุ์ชนิดนี้ที่เราเคยเห็นเราเคยเจอตั้งแต่เด็ก แต่ว่าเพื่อนบางคนที่เขาอยู่ในเมืองเขาไม่ได้มาสัมผัสกับเกษตรกรรมอย่างนี้โดยตรง เขาก็พึ่งจะรู้ว่านี่คือเมล็ดพันธุ์ของพืชชนิดนี้การมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากจะได้สนุกสนานจากเพื่อนที่ร่วมกรรม ได้ความรู้จากการบรรจุและจัดทำทะเบียนพันธุ์แล้ว ยังได้เป็นอีกหนึ่งแรงใจที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในจ.อุบลราชธานี”
อมรวิวัฒน์ แต้มพิมาย รายงาน