สิทธิเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่ควรมองข้าม
สิทธิ หมายถึงอำนาจอันชอบธรรม อำนาจที่กฎหมายรับรองให้กระทำการใด ๆ โดยสุจริตได้อย่างอิสระ แต่ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของคนอื่น
คนเรามีสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี หากรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เราสามารถเรียกร้องสิทธิของตนเองได้ แต่สำหรับเด็กแล้ว บางครั้งการเรียกร้องสิทธิที่ควรจะได้รับกลับเป็นเสมือนเสียงเล็ก ๆ ที่ส่งไปไม่ถึงผู้ใหญ่ ยังคงถูกบดบังด้วยสถานะของการเป็นเด็ก หลายคนมองว่าเด็กตัวเท่านี้จะมีสิทธิ์มีเสียงอะไรมากมาย จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ข่าวเกี่ยวกับเด็กที่ถูกตกเป็นเหยื่อโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือ ยังคงมีมากมายในปัจจุบัน
ยกตัวอย่างเช่นข่าวเด็กนักเรียนถูกตัดผม
ข่าวอาม่าตบหน้าเด็กนักเรียน
สื่อเปิดหน้านักศึกษาพลเมืองดี
โดย หากกล่าวถึงสิทธิเด็กในแง่ทั่ว ไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสิทธิทั่วไปที่เด็กควรได้รับ และกลุ่มสิทธิสำหรับกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ส่วน สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่บังคับใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่
เพราะเด็กจะต้องเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ขับเคลื่อนประเทศในวันข้างหน้า ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับเด็กอย่างเท่าเทียม และถึงแม้ว่าเด็กจะมีสิทธิในด้านต่าง ๆ แต่คนที่จะทำให้สิทธิเหล่านั้นมีผลกับเด็ก ๆ ก็คือผู้ใหญ่ หากว่าเรายังคงละเลยนิ่งเฉย ‘สิทธิเด็ก’ อาจเป็นเพียงตัวอักษรเพียงไม่กี่ตัวที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเลยแม้แต่น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.thaichildrights.org/story/social-story/สิทธิเด็ก-เรื่องของเด/?fbclid=IwAR0LUCHuPRAI7dVC6iis_hkrFw9wYv-x93x0VF3G3EUTPdyb52C4SSddStA