More
    Saturday, March 5, 2022

    หวั่นพลังงานหมดประเทศ นักวิชาการย้ำ “ประชาชนควรให้ความสำคัญพลังงานทดแทน”

    -

    ปก

    นักวิชาการเกษตรเผย ประชาชนควรหันมาสนใจพลังงานทดแทนให้มากขึ้น เหตุเนื่องจากพลังงาน            ในประเทศเริ่มลดน้อยลงไปทุกปี อาจส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่ง ระบบเศรษฐกิจความมั่นคง และส่งผลให้ค่าครองชีพภายในประเทศสูงขึ้นทำให้ประชาชนใช้จ่ายติดขัด

    นายสุวสันต์  ดวงจันทร์โชติ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ        กล่าวถึงผลดีผลเสียของการนำพลังงานทดแทนมาใช้ว่า “ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของพลังงานที่ได้จาก        สิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ โดยส่วนมากพลังงานเหล่านี้จะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่การจะนำพลังงานเหล่านี้มาใช้ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ซึ่งประชาชนจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะการจะนำพลังงานทดแทนมาใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการติดตั้งและดูแลรักษา หากไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง การใช้พลังงานทดแทนอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือประชากรในเขตพื้นที่ใกล้เคียงได้ เช่น พลังงานชีวมวลจากมูลสัตว์ที่มีการบริหารจัดการพื้นที่ปศุสัตว์ไม่ดีพอก็จะส่งกระทบในเรื่องของกลิ่นได้”

    นายสุวสันต์ กล่าวต่ออีกว่า ประชาชนควรหันมาสนใจพลังงานทดแทนให้มากขึ้น เพราะพลังงานเหล่านี้เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อชีวิต เนื่องจากพลังงานเชื้อเพลิงหรือน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติลดน้อยลงไปทุกที ประชาชนควรหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนที่อยู่รอบตัวเราซึ่งเป็นพลังงานสำคัญที่จำเป็นจะต้องใช้ในอนาคต และควรรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไป หากพลังงานมีไม่เพียงพออาจจะทำให้เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขนส่ง เศรษฐกิจ ความมั่นคง ทุกอย่างจะเกี่ยวข้องกันหมดถ้าพลังงานในประเทศหมดลง

    “ปัจจุบันไม่ว่าจะพลังงานใด ๆ ในประเทศไทยก็กำลังเหลือน้อยลงไปทุกวัน ในด้านครัวเรือนการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการนำพลังงานทดแทนมาใช้ก็ต้องทำความเข้าใจว่า พลังงานทดแทนคือการทดแทนสิ่งที่กำลังจะสูญหายหรือสูญสิ้นไป ครัวเรือนควรจะสนใจนำเรื่องของพลังงานชีวมวล หรือพลังงานที่สามารถทำได้ง่าย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ซึ่งพลังงานของแต่ละจังหวัดก็จะมีการแนะนำการใช้งาน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือการใช้งานของพลังงานแสงอาทิตย์ ประชาชนควรเข้าไปติดต่อหรือประสานทางพลังงานจังหวัด เพื่อศึกษาหาความรู้และการแนะนำการติดตั้งที่ถูกต้อง” นายสุวสันต์ กล่าว

    หลายหน่วยงานพยายามส่งเสริมหรือสนับสนุนในการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น จากนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐมีแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนปี 2561 เพิ่มขึ้น 7.1% แสดงให้เห็นว่าประชาชนครัวเรือนเริ่มมีการเคลื่อนไหวและหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรและเขตพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งส่วนมากเป็นการนำพลังงานชีวมวลที่ได้จากมูลสัตว์มาใช้ในเขตนิคมของปศุสัตว์ เช่น ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ฟาร์มวัว โดยทำเป็นบ่อ หรือที่เรียกทั่วไปว่าบ่อแก๊สบอลลูน เกษตรกรหรือประชาชนทั่วไปที่ทำการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้วก็สามารถนำแก๊สชีวมวลมาเป็นพลังงานทดแทนได้ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซหุงต้ม หรือนำมาปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าโดยผันแปรก๊าซพวกนี้เข้าสู่ระบบเครื่องยนต์กลไกเพื่อให้มันทำงานได้

    ด้านชาวบ้านที่มีการใช้พลังงานทดแทน นายเฉลิม จันทร์นวน ชาวบ้านบ้านหนองชุมแสง ตำบลห้วยบง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ออกมาพูดถึงประโยชน์ของการใช้พลังงานทดแทนว่า หลัก ๆ สามารถช่วยลดต้นทุนได้และพลังงานจะไม่มีวันหมดไปเพราะเป็นพลังงานที่มีอยู่ตลอดทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ทั้งยังช่วยประหยัดค่าไฟเพราะไม่ได้ใช้ไฟ หากใช้พลังงานลมตอนกลางคืนก็ไม่ต้องเสียค่าไฟ ตอนกลางวันก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งจะมีราคาสูงจึงต้องลงทุนเยอะขึ้น ซึ่งก็คุมค่ากับการลงทุนเพราะแผงหนึ่งจะมีอายุการใช้งาน 5-6 ปี 

    ทั้งนี้ นางสาวมณีรัตน์ สมัยกลาง นิสิตคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของพลังงานทดแทนในอนาคตว่า ประชาชนควรตระหนักและให้ความสำคัญในพลังงานทดแทนที่อยู่รอบตัวเรา เพราะพลังงานที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน เชื้อเพลิง ไฟฟ้า ทุกสิ่งล้วนจะต้องสูญไปหากไม่มีพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งพลังงานทดแทนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ประชาชนควรหาความรู้ในเรื่องการใช้พลังงานทดแทนอย่างถูกต้องและได้มาตรฐาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาได้ในอนาคต

     

    ที่มาแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนปี 61 : http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/public_relations/forecast/Energy2016-Forcast2017.pdf

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ