อาชีพซื้อขายโคกระบือมีมาตั้งแต่ในสมัยอดีตซึ่งเดิมเรียกกันว่า นายฮ้อยวัวควาย หมายถึงพ่อค้า ที่นำฝูงวัวฝูงควายไปค้าขายตามพื้นที่ที่ห่างไกลในสมัยก่อน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งตลาดนัดโคกระบือในหลาย ๆ พื้นที่ของแต่ละจังหวัดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้นำโคกระบือมาจำหน่ายซื้อขายกัน โดยมีรูปแบบของ กระบวนการซื้อขายที่มีระบบดีขึ้นมากหากเทียบกับเมื่อก่อน ส่วนราคาก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ ในแต่ละช่วง ซึ่งการซื้อขายโคกระบือยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้และยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอยู่ แต่ทว่าด้วยปัจจัยการเข้ามารับซื้อเองถึงที่ของพ่อค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้รายได้ที่เคยมีของกลุ่ม เกษตรกรไทยนั้นกลับลดลง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทัย โคตรดก อาจารย์สาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กล่าวถึงรูปแบบการซื้อขายโคกระบือในว่า “ตลาดนัดโคกระบือ มี 3 ส่วน ส่วนหนึ่ง ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันระหว่างพ่อค้าในท้องถิ่น ส่วนที่สองซื้อไปเพื่อขุนที่ภาคกลาง ส่วนที่สามซื้อเพื่อ ส่งออกไปจีนและเวียดนาม ส่วนทิศทางการซื้อขายในอนาคตมีแนวโน้มที่จำเป็นจะต้องเลี้ยงเพื่อพัฒนา สายพันธุ์ให้มีเลือดโคต่างประเทศเช่น ชาร์โรเล่ส์ วากิว เป็นต้น และเพื่อพัฒนาส่งออกขายไปยังลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตามลำดับ”
นายไสว วรรณะสุด เกษตรกรที่ทำอาชีพค้าขายโคกระบือมากว่า 20 ปี เล่าถึงการซื้อขายและ ส่วนของรายได้ว่า “มีการไปรับซื้อเองและมีชาวบ้านนำมาขายให้ก่อนที่จะนำไปขายต่อที่ตลาด บางครั้งมีการรับซื้อมาเพื่อเลี้ยงไว้รอกลับไปขายอีกครั้ง วัวที่นำมาขายที่ตลาดนัดโคกระบือส่วนใหญ่ มีอยู่ประมาณ 5 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ วากิว บาซิล บารห์มัน วัวพันธุ์ไทย ชาร์โรเล่ส์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมวัวแดงสายพันธุ์บารห์มัน เพราะ จะมีเนื้อหนังหนา หูยาว เมื่อนำไปขายต่อจะได้กำไรเพิ่มประมาณ 5,000-1,0000 บาท ในส่วนรายได้ต่อวันของตนจากการนำวัวไปที่สนามจะมีกำไรอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นำไปขายด้วย
นาย ไสวเล่าต่อว่า หากเปรียบเทียบกำไรจากการซื้อขายโคกระบือในตอนนี้กับเมื่อก่อนก็ค่อนข้างน่าเป็นห่วง จากเมื่อก่อนที่เคยมีกำไรอยู่ที่ 3,0000-4,0000 บาท แต่ปัจจุบัน มีกำไรไม่เกิน 25,000 บาท ต่อสัปดาห์ และมองว่าในอนาคตการค้าขายวัวควายจะมีความเป็นไปได้ว่าจะมีจำนวนน้อยลงจากเดิมเนื่องจากกำไรที่ลดลง จากการซื้อขายที่ยากขึ้นด้วยปัจจัยการเข้ามาของพ่อค้าชาวเวียดนามช่วง 1-2 ปีนี้ ซึ่งทำให้เกษตรกรไทยซื้อขายกันเองไม่ค่อยได้ ต่างจากแต่ก่อนที่มีการซื้อขายกันเองของเกษตรกรไทย ที่ซื้อมาเพื่อขุนก่อนแล้วค่อยขายต่อให้นายหน้าส่งออกไปขายต่างประเทศอีกที
นาง ทองจันทร์ เครือแวงมล เจ้าของตลาดนัดโคกระบือที่จังหวัดร้อยเอ็ด พูดถึงอาชีพนี้ว่า
มีความนิยมในการขายมากขึ้นราคาวัวควายมีราคาที่ไม่คงที่ มีขึ้นลงเป็นปกติ แต่ที่สังเกตได้คือทุกวันนี้การซื้อขายให้เกิดเงินหมุนเวียนของเกษตรกรด้วยกันเองยากขึ้น เพราะมีชาวเวียดนามเข้ามาซื้อถึงที่ ทำให้เกษตรกรไทยซื้อขายกันเองลำบาก เนื่องจากชาวเวียดนามให้ราคาที่สูงกว่า จึงสู้ราคาไม่ไหว และคาดว่าการซื้อขายวัวควายของเกษตรกรในตลาดนัดโคกระบือต่อไปจะลดน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถสู้ราคากับพ่อค้าชาวต่างชาติไหว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทัย โคตรดก ยังกล่าวถึงความสำคัญของอาชีพนี้ว่า อาชีพเลี้ยงโค กระบือ เป็นอาชีพที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต เลี้ยงเพื่อเป็นแรงงาน เป็นอาหารและเป็นธนาคารประจำบ้าน โคกระบือเป็นสินค้าที่ผู้เลี้ยงกำหนดราคาเองได้ ต่างจากสุกรหรือไก่เนื้อ จึงอยากให้เห็นถึงความสำคัญและอยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ให้อาชีพนี้คงอยู่ต่อไป