More
    Sunday, February 27, 2022

    เราแค่เศร้าหรือเราเป็นโรค

    -

    “ซึมเศร้า” เป็นคำที่เราได้ยินกันอย่างหนาหูหรือเห็นผ่านตากันมากมายในสังคมออนไลน์ที่บางคนก็โพสต์ว่าตัวเองนั้นกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า กลัวจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือชอบแชร์ประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับการชักจูงและนำพาตัวเองให้เข้าสู่การเป็นโรคซึมเศร้า 

    ในปัจจุบันนี้คำว่า “ซึมเศร้า” หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่ามันคือโรคแต่ในความเป็นจริงนั้น “ซึมเศร้า” เป็นได้ทั้งสภาวะและโรค สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้านานเกินกว่าสองอาทิตย์จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ อ.ดร.ชนิตา รุ่งเรือง อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลลัยมหาสารคามให้คำอธิบายอาการของภาวะและอาการของโรคนี้ว่า “คนที่มีภาวะแบบนี้หรือเป็นโรคแบบนี้จะมีลักษณะมีความเศร้า มีอารามณ์เศร้านำ แล้วก็ในเรื่องของการขาดสมาธิ รู้สึกเหนื่อยไม่มีแรงจะทำอะไร รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า แล้วก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตด้วยนะ อย่างบางที บางคนจะออกมาในลักษณะทานได้น้อยลง รับประทานอาหารได้น้อยลงหรือบางคนก็จะทานเพิ่มขึ้น แล้วก็ส่งผลต่อการนอน บางคนก็นอนไม่หลับ แต่บางคนก็จะเป็นในลักษณะนอนมากขึ้นแล้วบางคนก็รามไปถึงว่ามีเรื่องของความคิดการฆ่าตัวตาย ในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีในเรื่องของความคิดที่ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อรวมอยู่ด้วย”

    อ.ดร.ชนิตา รุ่งเรือง อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลลัยมหาสารคาม

    จากที่เราได้รู้กันแล้วว่า “ซึมเศร้า” นั้นไม่ได้มีแค่อาการที่เป็นโรคแต่ยังมีเรื่องของภาวะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งภาวะซึมเศร้าเราสามารถเป็นกันได้ทุกคน ผมเลยสงสัยว่าแล้วสาเหตุของการเกิดภาวะหรือโรคซึมเศร้ามันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้างจึงได้ถามอาจารย์และได้คำตอบว่า “สาเหตุของซึมเศร้าเกิดได้หายอย่าง มีทั้งเรื่องของสารเคมีในสมองที่มันหลั่งออกมาผิดปกติ คือมันขาดสมดุลไป” นอกจากเรื่องของสารเคมีในสมองแล้วอาจารย์ยังได้พูดถึงในเรื่องของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย   “คนที่มีพ่อแม่ญาติพี่น้องที่เป็นโรคซึมเศร้าก็มีโอกาสจะเป็นมากยิ่งขึ้น” นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายถึงสาเหตุที่เราพบเจอกันอยู่บ่อยครั้งคือ เรื่องของเหตุการณ์อะไรบางอย่างในชีวิตเราถ้ามีเรื่องของเหตุการณ์ ปรากฏการณ์อะไรบางอย่างที่มันกระตุ้นเช่น สูญเสียคนที่เป็นที่รักหรือของที่เป็นที่รัก แล้วก็ด้วยบุคลิกของแต่ละคนด้วยอย่างเช่น บุคลิกที่มีลักษณะจริงจัง จริงจังกับงาน จริงจังกับเรื่องการเรียนพอเวลาผิดหวังก็มีโอกาสจะเกิดซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อซึมเศร้า

    เมื่อเราได้รู้ถึงสาเหตุแล้วว่าเกิดได้จากอะไรบ้างจึงถามต่อไปว่ากลุ่มของผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงจะเป็นคนในกลุ่มจองช่วงวัยไหน “ปัจจุบันนี้ เราจะเจอกันบ่อย ๆ ก็คือหนึ่งกลุ่มของวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นจะถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่ายโดยธรรมชาติของวัยรุ่นด้วย แล้วก็ด้วยสื่อต่าง ๆ มีสิ่งเร้าเยอะพูดง่าย ๆ จาก social media จาก Facebook IG อะไรพวกนี้ก็จะมีลักษณะซึมเศร้าได้ง่าย” หลังจากได้ยินคำตอบของอาจารย์ผมก็ร้อง “อ๋อ” ขึ้นมาก เพราะอย่างที่เราจะรู้กันดีอยู่แล้วว่ากลุ่มเสี่ยงของ “ซึมเศร้า” จะเกิดกับวัยรุ่นเป็นส่วนมาก เพราะจะเป็นช่วงอายุที่ใช้ Social เป็นประจำอยู่แล้ว แล้วอาจารย์ก็ยังเสริมขึ้นมาอีกว่ากลุ่มเสี่ยงไม่ได้มีเพียงกลุ่มของวันรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีในกลุ่มของผู้สูงอายุ ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหรือภาวะนี้ได้ง่ายและมีสัดส่วนที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร 

    Social media เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารผมจึงถามอาจารย์ว่าสังคมออนไลน์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีผลกระทบที่ทำให้เกิดภาวะหรือโรคซึมเศร้าไหม “มีผลกระทบค่อนข้างมากเลย เหมือนอย่างเราเล่นโทรศัพท์ เล่น Facebook  เราจะพบเจอสื่ออะไรต่าง ๆ ที่มันกระตุ้นอารมณ์ได้ค่อนข้างมาก รวมไปถึงเรื่องของ Cyber Bullying อะไรแบบนี้ เวลาที่มีประเด็นนึงจะมีการไป Comment ไปวิพากษ์วิจารณ์อะไรที่มันกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกในด้านลบขึ้นมา ก็ทำให้เป็นภาวะซึมเศร้าหรือรามมาถึงการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย”

    และในปัจจุบันนี้เรามักจะพบกับคนที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่บ่อย ๆ แต่เข้าใจว่าตัวเองนั้นเป็นโรคซึมเศร้า อาจารย์จึงได้อธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโรคซึมเศร้ากับภาวะซึมเศร้าว่า “ภาวะซึมเศร้าเป็นกันได้ทุกคนนะคะเป็นได้ปกติที่บางช่วงจังหวะชีวิตเราจะมีความเศร้า แต่ถ้าเป็นติดต่อกันเกินกว่าสองสัปดาห์แล้วอาการที่ของภาวะหรือโรคนี้มันมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเช่น เคยเรียนได้ก็กลายเป็นว่าไม่อยากไปเรียน เคยทำกิจกรรมได้ไม่อยากทำ อะไรอย่างนี้ มันจะเริ่มเข้าข่ายเป็นโรคแล้วนะคะเพราะฉะนั้นถ้าเป็นต่อเนื่องกันแกกินสองสัปดาห์ก็ควรจะได้รับการดูแล”

    อ.ดร.ชนิตา รุ่งเรือง อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลลัยมหาสารคาม

    พอได้รู้ถึงอาการและสาเหตุแล้ว ผมก็อยากรู้ถึงเรื่องวิธีการที่เราจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้เราตกไปสู่ภาวะหรือโรคว่าจะทำได้อย่างไรบ้าง “อย่างแรกเราต้องเข้าใจตัวเองก่อนต้องรู้จักเข้าใจตัวเองก่อนว่าเหตุการณ์หรือว่าสถานะการณ์แบบไหนหรือว่าสิ่งเร้าอะไรที่มันมักจะกระตุ้นให้เราซึมเศร้าได้ง่ายก็พยายามหลีกเลี่ยงเช่น เวลาที่เรามีความขัดแย้งกับคนอื่น ขัดแย้งแล้วเรามักจะซึมเศร้าตามมา ก็พยายามหลีกเลี่ยงบุคคล คนนั้นอะไรแบบนี้ ใช้วิธีการหลีกเลี่ยงแล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นพวกนี้ก็คือต้องรู้จักวิธีการผ่อนคลาย ผ่อนคลายความตรึงเครียดของตัวเองนะคะ บางคนก็ใช้การออกกำลังกายช่วยหรือบางคนก็ใช้การทำศิลปะอะไรอย่างนี้ หรือบางคนทำสิ่งที่ตัวเองชอบตัวเองสนใจก็ได้เหมือนกัน” 

    และอาจารย์ชนิตาก็ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า “สำหรับโรคซึมเศร้า ตอนนี้เรียกว่าเป็นวิกฤตเพราะว่าเจอทุกเพศทุกวัยเลย สิ่งที่ทำได้ก็คือ หนึ่งเฝ้าสังเกตตัวเอง ว่าเรากำลังอยู่ในภาวะนั้นหรือเปล่า คือในชีวิตของเรา มันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่พอใจ เราไม่ได้รู้สึกดีกับมัน มันมีเหตุการณ์กระตุ้นเราอยู่แล้วในชีวิต สิ่งสำคัญคือเราต้องมีการประเมินตัวเองเรื่อย ๆ ว่าในสถานการณ์เหล่านั้น ในความรู้สึกเหล่านั้นเรายังจัดการมันได้หรือเปล่า ถ้าจัดการไม่ได้ก็แนะนำให้พบกับผู้เชี่ยวชาญ อย่างเช่นนักจิตวิทยา จิตแพทย์เพื่อให้การดูแลตรงนี้หรือคิดว่าถ้ายังพอไปได้ คุยกับคนในครอบครัวคุยกับเพื่อน อย่าเก็บความรู้สึกบางอย่างที่เรารู้สึกว่ามันหนักไว้คนเดียว พยายามผ่อนคลายตัวเอง”

    จากที่ได้ฟังที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดเราจะเห็นว่า “ซึมเศร้า” ไม่ได้เป็นเพียง “โรค” แต่ยังมีในเรื่องของ “ภาวะ” ที่เกิดขึ้นทางอารมณ์ ถ้าหากว่าเราติดอยู่ในภาวะที่มีความรู้สึกเศร้านานเกินไปหรือว่าไม่สามารถที่จะจัดการกับมันได้เองก็ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์ ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แต่เราหลีกเลี่ยงได้เพียงแค่พาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดี ผ่อนคลายอารมณ์ รู้จักและเข้าใจตัวเอง

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ