นักเรียนชั้นมัธยม จังหวัดมหาสารคาม กล่าวถึงแผนการเรียนพิเศษในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ที่สามารถเลือกเรียนแบบออนไลน์ได้ที่บ้านได้แต่ประสิทธิภาพการเรียนลดลง
เมื่อเดือนมีนาคม 2563 – เดือนมิถุนายน 2563 มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด –19 อย่างหนัก ส่งผลให้สถาบันกวดวิชาต้องหยุดการเรียนการสอน ตามคําสั่งของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19 ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอมที่จะมีนักเรียนหลายคนวางแผนที่จะเรียนพิเศษเพิ่มเติมตามสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ แต่หลายคนต้องเปลี่ยนแผนเพราะการระบาดของเชื้อไวรัสทําให้นักเรียนต้องปรับแผนการเรียนพิเศษโดยมองหาคอร์สเรียนออนไลน์ อ่านหนังสือเองหรือบางคนก็หยุดเรียนพิเศษไปเลย
และช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา การระบาดค่อย ๆ บรรเทาลง สถาบันกวดวิชากลับมาเปิดอีกครั้ง และนักเรียนบางส่วนยังคงตัดสินใจเลือกเรียนพิเศษแบบออนไลน์เพราะยังอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังการะบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด –19 ส่วนกลุ่มที่กลับมาเรียนที่สถาบันกวดวิชาตามปกติให้เหตุผลว่าการเรียนออนไลน์ที่บ้านทําให้ไม่มีสมาธิและประสิทธิภาพการเรียนลดลง
นายวชิรวิทย์ ปองไป นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายมัธยม กล่าวถึงผลกระทบและแนวทางการวางแผนการเรียนพิเศษว่า “เมื่อช่วงปิดเทอมที่ผ่านมาเกิดการ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทําให้ไม่สามารถออกไปไหนได้จึงมองหาสถาบันที่เปิดคอร์สเรียนออนไลน์แทน แต่ก็ประสบปัญหาหลายอย่างเพราะเป็นการเรียนออนไลน์เมื่อเกิดคําถามก็ไม่สามารถถามเพื่อหาคําตอบได้ทันที อีกทั้งการนั่งเรียนที่บ้านทําให้ไม่มีสมาธิ ไม่จดจ่อกับการเรียนเท่าที่ควร และถึงแม้ว่าช่วงนี้สถานการณ์การระบาดจะบรรเทาลง แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังเลยตั้งใจว่าจะยังคงเรียนพิเศษแบบ ออนไลน์อยู่ และอ่านหนังสือเองเพิ่มขึ้น”
เด็กชายปราชญ์ วิริยเมธางกรู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ได้เล่า ผลกระทบและแนวทางการวางแผนการเรียนพิเศษเพื่อเตรียมเข้าสอบนายร้อยว่า “เมื่อตอนที่สถานการณ์ โควิด-19 ได้ระบาดอย่างรุนแรงจนทําให้สถาบันกวดวิชาปิดเลือกที่จะอ่านหนังสือเอง และเมื่อสถานการณ์ เริ่มบรรเทา โรงเรียนกวดวิชากลับมาเปิดอีกครั้งก็เลือกที่จะกลับมาเรียนที่กวดวิชาเพราะเชื่อว่าการเรียน ออนไลน์ที่บ้านจะทําให้ประสิทธิภาพการเรียนลดลง”
อีกทั้งการให้สัมภาษณ์จาก นางจารุดา อุดมเดชาเวทย์ หนึ่งในผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายมัธยม ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบและแนวทางการวางแผนการเรียนพิเศษ ของบุตรหลานว่า “ลูกสาวต้องพักการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เพราะ ครูผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษากลับประเทศ ส่วนเรื่องการวางแผนการเรียนพิเศษก็ต้องถามความต้องการของ
ลูกว่าต้องการเรียนเพิ่มด้านไหน ถ้าลูกต้องการก็จะมองหาคอร์สเรียนออนไลน์ หรือจ้างครูมาสอนส่วนตัวที่ บ้าน และจัดพื้นที่ในบ้านให้เรียนพิเศษได้อย่างมีสมาธิมากขึ้น”
ในทางด้านผู้ประกอบการสถาบันกวดวิชา นายณัฐท์ศรันย์ ศิริกิจ เจ้าของโรงเรียนวจวิชาสานฝันปั้นอัจฉริยะ มหาสารคาม เล่าว่า “ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทางกวดวิชาจําเป็นต้องปิด และหยุดการ เรียนการสอนไป ไม่ได้เปิดสอนออนไลน์เพิ่มเนื่องจากอาจารย์ที่เข้ามาเป็นติวเตอร์ให้ทางกวดวิชาต่างเป็น อาจารย์ที่สอนประจําตามโรงเรียนซึ่งมีภาระหน้าที่ต้องเตรียมการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ของ โรงเรียนตนเองจึงรอเปิดกวดวิชาตามช่วงเวลาที่ทางรัฐกําหนด ในรูปแบบออฟไลน์เช่นเดิม และมีการ ป้องกันตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อ”
นางสาวมริทร์ธรา ศิริวาลย์ (รายงาน)