More
    Monday, March 7, 2022

    กฎหมายปาหินคนรักเพศเดียวกัน การยอมรับ เสรีภาพ ความเชื่อ

    -

    เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันทั่วโลกเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายการลงโทษขั้นสูงสุดโดยการปาหินจากประเทศบรูไน ที่เริ่มใช้กฎหมายอาญาตามหลักกฎหมายอิสลาม (ชารีอะห์) ฉบับใหม่ตั้งแตวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2562 เพิ่มโทษรุนแรง ความผิดฐานคบชู้และรักร่วมเพศ โดยเฉพาะผู้ชายมีโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิตด้วยการปาหิน สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์แห่งบรูไน มีพระราชประสงค์ให้ประเทศบรูไนใช้กฎหมายชะรีอะฮ์หรือหลักกฎหมายอิสลามอย่างเคร่งครัด มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 หลังจากเลื่อนการบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบมานานหลายปี กระทั่งวันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ.2562 ทางการบรูไนยืนยันว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว

    ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกต่างทยอยออกฎหมาย รับรองการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน แต่บรูไนกลับจะประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาภายใต้กฎหมาย ศีลธรรมทางศาสนาอิสลาม ชาริอะห์(Sharia/Syariah law) ลงโทษประหารคนรักเพศเดียวกันดวยการปาหินหรือเฆี่ยนจนตาย เป็นการเพิ่มมาตรการความรุนแรงจากที่ผ่านมากฎหมายคาดโทษจำคุก 10 ปี ไม่ว่าศาสนิกชนใดก็ตามหรือจะเป็นชาวต่างชาติมาพำนักหรือมาเที่ยวในพื้นที่อำนาจรัฐบรูไน จนกรมการกงสุลไทยแจ้งเตือนคนไทยที่จะไปหรืออาศัยในบรูไนใหระวังตัว

    ก่อนหน้านี้ เมื่อปี พ.ศ.2559 รัฐบาลกษัตริย์ ผู้เป็นรัฏฐาธิปัตยก็ได้พยายามออกกฎหมายนี้แต่ถูกห้ามปรามจากนานาประเทศ จึงถูกยับยั้งไป แล้วต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2562 กฎหมายนี้ได้ถูกบังคับใช้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เช่น โบยตีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตัดมือผู้ต้องคดีลักทรัพย์โดยเจตนารมณ์ของรัฐบาลเพื่อเพิ่มความน่ากลัวและควบคุมประชาชนได้

    แต่ถ้ามองในโลกอิสลามหรือมุสลิมเป็นการสะท้อนให้บรูไนยึดมั่น เชื่อมั่น และศรัทธาในศาสนาอิสลามมากขึ้น เป็นการยกระดับประเทศของตัวเองขึ้นไปด้วย กฎหมายศีลธรรมทางศาสนาอิสลาม ชาริอะห์ (Sha-
    ria/Syariahlaw) คือประมวลกฎหมาย ที่มาจากหลักคำสอนรวมทั้งหลักนิติศาสตร์พื้นฐานของศาสนาอิสลามครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตของประชาชนการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจการทำธุรกรรมต่างๆ ไปจนถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว เมือง และประเทศที่นำกฎหมายฉบับนี้ไปใช้ ได้แก่มอริเตเนีย ซูดาน ซาอุดิอาราเบียกาตาร์เยเมน อิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถานมัลดีฟส์จังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย และบรูไนอาจจะเรียกได้ว่าบรูไนเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียนที่ใช้กฎหมายชาริอะห์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ

    โดยแบ่งการบังคับใช้กฎหมายเป็น 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่ระยะที่หนึ่ง ปรับ – จำคุก บังคับใช้เมื่อปี พ.ศ.2557 เป็นโทษสถานเบา เช่น การตั้งครรภ์นอกสมรส หรือไม่ไปรวมพิธีละหมาดในวันศุกร์ ระยะที่สอง เฆี่ยน – ตัดมือมีโทษที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ผู้ที่ไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมไปถึงทำความผิดฐานลักทรัพย์และระยะสุดท้ายคือการปาหินจนถึงแก่ชีวิต เป็นการลงโทษสถานหนัก เช่น การคบชู้ดูหมิ่นศาสนา รวมไปถึงการลวงละเมิดทางเพศ และสุดท้ายลงโทษผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT ที่ทุกคนรู้จักกัน

    ขณะที่แอมเนสตี้ อินเทอร์เนชันแนล (AmnestyInternational) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนสากลได้เรียกร้องให้บรูไนยุติการเพิ่มโทษใหม่ทั้งหมด โดยเรเชล โช -ฮาเวิร์ด นักวิจัยชาวบรูไน ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า การบังคับใช้บทลงโทษที่ทารุณและไร้มนุษยชนเป็นเรื่องน่ารังเกียจด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่บางข้อหาไม่ควรเป็นอาชญากรรมด้วยซ้ำ เช่น การร่วมเพศกันโดยสมัครใจระหว่างคนเพศเดียวกัน

    ฮิวแมนไรทวอทช์ องคกรด้านสิทธิมนุษยชนสากลระบุว่า การเพิ่มโทษในครั้งนี้เป็นการลงโทษที่ป่าเถื่อนโดย แก่นแท้พร้อมเรียกร้องให้สุลต้านบรูไนระงับการตัดอวัยวะปาหิน และการลงโทษอื่นๆ ที่ละเมิดสิทธิทันที และอาจส่งผลทำใหภาพลักษณ์ของประเทศบรูไนดูแย่ในสายตาของนักลงทุนและนักทองเที่ยวต่างชาตินอกจากนี้อาจทำให้เกิดกระแสการคว่ำบาตรเพื่อต่อต้านกระแสการใช้กฎหมายชาริอะห์อีกครั้ง หลังจากทั่วโลกเคยคว่ำบาตรบรูไนมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2557

    นายชัยวัฒน์ มีสันฐาน ประธานศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาการเพิ่มบทลงโทษแสดงให้โลกมุสลิมเห็นถึงความเชื่อมั่นความศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม ส่วนกระบวนการในการพิจารณาคดีไม่ได้ทำกันง่ายๆ มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน “สิ่งสำคัญที่สุดในการใช้กฎหมายนี้คือต้องมีพยาน พยานในเคสของ LGBT ในการปาหิน ต้องมีพยานถึง 4 คนที่เห็นไปในทิศทางเดียวกัน เห็นผ่านกล้องก็ไม่ได้ต้องเห็นด้วยตา เพราะฉะนั้นกรณีที่โดนเคสแบบนี้มีน้อยมาก คือ แทบจะเป็นไปไม่ได้” เขายังกล่าวย้ำอีกว่า เราเองควรรู้พื้นฐานของสังคมวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านด้วยจะได้เข้าใจซึ่งกันและกันแล้วลดความหวาดกลัวและกังวลลงด้วย

    และล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2562 กษัตริย์แห่งบรูไนตัดสินพระทัยเลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย
    ประหารชีวิตผู้ที่กระทำผิดกรณีรักเพศเดียวกัน หลังถูกนานาชาติกดดันพระองค์ยังทรงกล่าวต่อด้วยว่า เหตุผลที่จำเป็นต้องระงับใช้กฎหมายเป็นเพราะเกิดความไม่เข้าใจและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ อย่างไม่ถูกต้อง กฎหมายฉบับนี้ถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา แต่กลับถูกนานาประเทศประณามว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง นอกจากนั้นยังมีผู้มีชื่อเสียงมากมายออกมาประกาศคว่ำบาตรไม่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบรูไน ที่จริงแล้วกฎหมาย “ชารีอะห์” ที่บรูไนใช้อยู่แต่เดิมนั้นก็มีการกำหนดความผิดของชาวรักร่วมเพศคือจำคุก 10 ปี ได้ทรงออกมาประกาศระงับการใช้กฏหมายประหารชีวิตชาวรัก
    ร่วมเพศด้วยการปาด้วยก้อนหิน โดยพระองค์เพียงแต่ทรงบอกว่าเป็นการระงับเพียงชั่วคราวเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม การปาหินคนรักเพศเดียวกันก็ไม่ได้ต่างอะไรไปจากบางกฎหมายที่อำนาจสูงสุดในการตัดสินใจไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ย่อมไม่นำไปสู่การยอมรับความแตกต่างหลากหลายแบบพหุนิยม (pluralism) อันเป็นหลักสำคัญของประชาธิปไตย เพราะเชื่อว่านั่นไม่ก่อให้เกิดความมั่นคง ยังคงยินยอมหรือจำนนให้ใครสักคนมาสั่งสอนพร้อมกับลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ในการใช้ชีวิตในนามของคนดีและศีลธรรม ต่อให้ไม่มีกฎหมายห้ามรักเพศเดียวกัน หรือมีเพศสัมพันธ์นอกสถาบันสมรส แต่ก็มีกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพด้านอื่นแทน

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ