More
    Thursday, March 3, 2022

    สภาคณาจารย์ มมส. เรียกร้องสวัสดิการให้พนักงานมหาวิทยาลัย

    -

    เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ทางสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ได้จัดโครงการประชุมประชาพิจารณ์ในเรื่องที่เป็นปัญหาและเรื่องต้องการความคิดเห็นของประชาคม ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยได้กำหนดมีการเสวนาประเด็นและหัวข้อต่างๆประกอบด้วย เรื่องเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัย เรื่องสิทธิประโยชน์ของพนักงานในมหาวิทยาลัย เรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การบริหารงานให้เกิดความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล

    โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อรับฟังประชาคมปัญหาต่างๆภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.เพื่อรับฟังความต้องการของประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3.เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชามคมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวุฒิ ฉัตรอุทัย ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย(ปอมท.) และประธานสภาคณาจารย์และพนักงานสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รองอธิการบดี ฝ่ายนโยบายและแผน และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัติ ปานศิลา ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์จ่าสิบเอกสุพจน์ เทียมเมฆา ที่ปรึกษากรรมการบริหารสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ดำเนินรายการ

    รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวุฒิ ฉัตรอุทัย กล่าวว่า ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ประมาณ 80 แห่ง โดยปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ(ออกนอกระบบ) มีจำนวน 26 แห่ง และที่เป็นสมาชิก ปอมท. จำนวน 16 แห่ง นอกนั้นคือมหาวิทยาลัยในส่วนราชการ(ในระบบ) การที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบไปจะไม่เป็นรัฐวิสาหกิจและที่สำคัญรายได้มาจากเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี ซึ่งรายได้ตรงนี้มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไม่ต้องคืนเงินให้กับรัฐบาล ซึ่งแตกต่างกับมหาวิทยาลัยในระบบจะต้องนำเงินที่เหลือจ่ายคืนให้กับรัฐบาล(กระทรวงการคลัง)

    รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า สภาคณาจารย์ทั่วไปประเทศที่อยู่ในเครือของ ปอมท. มีความห่วงใยอาจารย์รวมถึงบุคลากรในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศด้วยกัน เพราะบริบทอาจารย์มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2542 ที่รัฐบาลพยายามผลักดันทุกมหาวิทยาลัยออกนอกระบบให้หมด เพื่อดูแลในส่วนของรัฐบาลเอง นั่นหมายความว่าบุคลากรที่เข้ามาทำงานในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ถูกบังคับให้เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย และจะไม่มีข้าราชการอีกต่อไปแล้ว รวมระยะเวลา 17 ปีที่ไม่มีข้าราชการอาจารย์ที่เป็นฝ่ายสนับสนุน และที่ผ่านมานั้นพนักงานมหาวิทยาลัยยังไม่ถูกรองรับสถานภาพอย่างชัดเจนในสังคม เช่น ในเรื่องค้ำประกัน ยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากมหาวิทยาลัยยังอยู่ในระบบต่อไปในนั้นจะมีเพียงพนักงานอย่างเดียว จะไม่มีสวัสดิการหลังการเกษียณ นั่นแสดงว่าอายุ 60 คือจบสิ้นทุกอย่างต้องดูแลตัวเองทั้งหมด ซึ่งอาจารย์เป็นบุคคลทำหน้าที่สำคัญของประเทศ ให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่เด็ก หากบุคลากรทางการศึกษารู้สึกไม่มั่นคงแล้ว อาจส่งผลต่อการมีประสิทธิภาพของการศึกษาก็เป็นได้

    ประธานปอมท. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบต้องสร้างตัวเองให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง เนื่องจากต้องหารายได้บริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งมีบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งแบ่งบุคลากรออกเป็น 2 สาย ดังนี้1. สายวิชาการ2.สายสนับสนุนวิชาการ ทั้งสองส่วนนี้ต้องไปพร้อมกัน จึงเป็นที่มาของคำสั่งคสช.ที่ 37/2560 ที่พยายามผลักดันให้สายสนับสนุนได้ร่วมกิจกรรมกับสายวิชาการ ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยนอกระบบรวมสภาคณาจารย์เข้าด้วยกันเรียบร้อยแล้ว โดยได้ยกตัวอย่างจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งได้ออกนอกระบบตั้งแต่ปี 2551 และในปี 2552 ได้ตั้งกองทุนสวัสดิการสำรองค่าเลี้ยงชีพและค่ารักษาพยาบาล และกองทุนสวัสดิการค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่น(เงินเหลือจ่าย) ซึ่งมหาวิทยาลัยในระบบจะทำไม่ได้

    ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รองอธิการบดี ฝ่ายนโยบายและแผน และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม เปิดเผยว่า เมื่อก่อน มมส เคยมีความพยายามออกนอกระบบ แต่ค่อนข้างยากด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง รวมถึงการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยหักเงินเดือนพนักงานไปเพื่อเข้ากองทุน ซึ่งตามจริงแล้วทำไม่ได้เพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย อย่างไรก็แล้วแต่การให้ระบบสวัสดิการแก่บุคลากรพนักงาน ในมหาวิทยาลัยเป็นจึงสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะ 1.ทำงานให้มีความก้าวหน้าอย่างไร 2.มีความสุขกับการทำงาน 3.มีความมั่นคงในชีวิต

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัติ ปานศิลา ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยว่า รู้สึกสงสารพนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคามรุ่นหลังอย่างมาก เพราะยังไม่ได้รับสวัสดิการเท่าที่ควร กองทุนสวัสดิการจากเดิมมีระเบียบของพนักงานและประกาศเรื่องสวัสดิการ ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้การจัดตั้งกองทุนสำรองยังชีพไม่สำเร็จ เนื่องจากมีฝ่ายบริหารไม่ค่อยสนใจหรือไม่มั่นใจเรื่องเหล่านี้ เพราะมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการค่อนข้างมาก

    อาจารย์จ่าสิบเอกสุพจน์ เทียมเมฆา ที่ปรึกษากรรมการบริหารสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยว่า ระบบเดิมคือระบบเงินสะสม ซึ่งพนักงานสะสม 3% และมหาวิทยาลัยสมทบอีก 3%  ซึ่งเงินก้อนนี้จะไม่ดอกผลและไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้  แต่ถ้าเป็นระบบกองทุนสำรองยังชีพแต่ละปีจะมีผลประโยชน์และสะสมไปเรื่อยๆ นำไปลดหย่อนภาษีได้ กองทุนสำรองยังชีพที่เขียนไว้ในร่าง พ.ร.บ.ของมมส ให้พนักงานสะสม 3% แล้วให้มหาวิทยาลัยสมทบเริ่มต้นในช่วงแรก 3% แต่ตามกฎหมายกองทุนให้พนักงานสะสมได้ไม่เกิน 15% ในส่วนของมหาวิทยาลัยต้องไม่น้อยกว่า 3% หรือต้องมากกว่านั้น เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังให้เงินสมทบ 8% และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็ให้เงินสมทบอีก 8% เช่นเดียวกัน  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องรอติดตามว่าทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามจะมีการหยิบยกเรื่องการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเข้าที่ประชุมอีกครั้งหรือไม่

    อาจารย์จ่าสิบเอกสุพจน์ เผยต่ออีกว่า เรื่องเงินเดือนปรับฐานของพนักงานในมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาปรับฐาน 4% เมื่อเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยต้องจ่ายทั้งหมด 22 เดือน ครั้งแรก 10 เดือน ครั้งที่สองจ่าย 12 เดือน ตั้งแต่ปี 2555 มีการปรับฐานเงินเดือนอยู่ 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 1 เมษายน 2555 ครั้งที่ 2 1 มกราคม 2556 ครั้งที่ 3 1 มกราคม 2557 ครั้งที่ 4 1 ธันวาคม 2557 ซึ่งขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ปรับฐานให้เพียงครั้งที่ 1 และครั้งที่ 4 ส่วนครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 นั้นทางมหาวิทยาลัยบอกว่าไม่มีมติ ครม. ให้ปรับฐานเงินเดือนจึงเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา รวมข้อมูลทั้งสองปีเป็นสองร้อยกว่าล้านบาท ซึ่งทางสภาคณาจารย์จะพยายามเร่งรัดให้ทางมหาวิทยาลัยจ่ายคืนโดยเร็ว

    อาจารย์จ่าสิบเอกสุพจน์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า มหาวิทยาลัยมีเงินต้องจ่ายพนักงานอยู่สองส่วน คือ เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยกับเงินจากงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินอุดหนุน เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเงินประจำตำแหน่ง ค่าชดเชย เป็นต้น โดยยกตัวอย่างค่าชดเชย คือ ลูกจ้างชั่วคราวต้องได้ตามค่าแรงขั้นต่ำ เช่น แม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จะต้องได้เงินเดือนตามค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท รวมทั้งเดือน 9,000 บาท แต่มหาวิทยาลัยกลับจ่ายแค่ 6,000 บาท ทางสภาคณาจารย์เคยทำเรื่องไปยังมหาวิทยาลัยแล้ว เพื่อให้จ่ายค่าแรงตามกฎหมายของมติ ครม.กำหนด และทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เบิกงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีคือเงินสำหรับเข้ากองทุนสวัสดิการได้ ซึ่งตามจริงแล้วมหาวิทยาลัยสามารถตั้งกองทุนสวัสดิการแล้วเบิกเงินจากรัฐได้แต่กลับไม่ได้ทำ ทำให้มหาวิทยาลัยหักเงินเดือนพนักงานเข้าสู่ระบบสวัสดิการ ซึ่งผิดกฎหมายตามกฎกระทรวงการคลังที่มหาวิทยาลัยไม่สามารถหักเงินเดือนพนักงานได้

    หนึ่งในอาจารย์ผู้เข้าร่วมประชาวิจารณ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พวกเราต้องออกมาเรียกร้องสิทธิให้ความสนใจ โดยเรื่องที่ตนจะเสนอคือ ประการแรกควรที่จะเสนอจัดเวทีประชาคมย่อยไปให้ข้อมูลในแต่ละคณะสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ประการที่สองสวัสดิการที่มีอยู่แย่กว่าคนในชุมชน เพราะชาวบ้านในชุมชนเขามีกองทุนสวัสดิการชุมชนออมทรัพย์วันละบาท โดยรวมแล้วพวกเรายังไม่ตื่นตัวและไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ