More
    Tuesday, March 15, 2022

    อบต.โคกสะอาดเผยเล็งสร้างเตาเผาขยะเพื่อลดปัญหามลพิษ

    -

    ชาวบ้านวอนบ่อขยะ บ.หนองบัว ต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ก่อปัญหามลพิษทางอากาศจากการเผาขยะ ด้าน อบต.โคกสะอาด เผยมีโครงการสร้างเตาเผาขยะขนาดใหญ่เพื่อลดมลพิษ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า ด้านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์รับเร่งออกกฎหมายหวังชาวบ้านร่วมมือแยกขยะ

     

    ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ “สื่อมวลชน” ลงพื้นที่สำรวจพบว่า บ.หนองบัว ต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอาชีพคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ จำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า จอทีวี ซีพียูคอมพิวเตอร์ และตู้เย็น เป็นต้น โดยชาวบ้านรับซื้อขยะจากที่ต่าง ๆ นำมาคัดแยก เพื่อเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ไปขายตามประเภทที่คัดแยกออกมาแล้ว เช่น เหล็ก พลาสติก หรือ ทองแดง

    ทั้งนี้ ทองแดงจะมาสามารถขายได้ราคาดีที่สุด แต่ทองแดงมักจะอยู่ในสายไฟ พวกเขาจึงต้องแกะสายไฟออกมา เพื่อคัดแยกทองแดงเพื่อนำไปขาย วิธีการที่จะทำให้ได้ทองแดงไวที่สุดคือการเอาสายไฟไปเผาที่บ่อขยะที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาดจัดซื้อที่ดิน เพื่อให้ประชาชนนำขยะมูลฝอยไปทิ้ง ผลกระทบหลักที่ตามมาคือเรื่องสุขภาพของชาวบ้านในละแวกนั้น โดยได้รับผลกระทบจากควันไฟ หรือสารเคมีจำพวกแคดเมียม โครเมียม ปรอท ที่ซึมอยู่ในดิน น้ำและอากาศ ส่วนชาวบ้านที่เป็นผู้ประกอบการก็ได้รับผลกระทบ โดยสารเคมีแทรกซึมทางผิวหนังและทางเดินหายใจ ทำให้ชาวบ้านมีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วย

    นายฮวด วิมาเณย์ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ให้ข้อมูลว่า “ควันเป็นมลพิษ หากคนที่เป็นภูมิแพ้สูดดมเข้าไปก็จะหายใจไม่ออก ส่วนมากจะเป็นตอนเช้า ๆ ช่วงตี 5-6 โมง มองดูก็จะเห็นควันเวลาเผา สิ่งที่เผาคือทองแดงและกล่องโฟมที่ติดมากับตู้เย็น พวกทองแดงที่ติดสารเคมีที่มันแกะออกยากก็ต้องเอาไปเผา พอสารเคมีมันโดนความร้อนก็จะละลายออก นี่แหละตัวที่สำคัญ” 13113340_1247334148625085_646259906_o

    นายสมหวัง ก้อนวิมล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ (อบต.โคกสะอาด) กล่าวว่า ชาวบ้านต้องการทองแดง ก็ต้องเอาสายไฟไปเผาเพื่อจะเอาทองแดงข้างในสายไฟ ทำให้เกิดควัน นี่คือปัญหาที่แก้ไม่ได้ เราไม่สามารถที่จะห้ามชาวบ้านได้ เราพยายามตักเตือนและแนะนำ แต่ชาวบ้านก็เลี่ยงที่จะรับคำแนะนำ เพราะเป็นรายได้และเป็นอาชีพของพวกเขา เขาก็ถามว่าถ้าบอกให้เขาเลิกทำแล้ว อบต. จะมีอะไรมาทดแทนอาชีพให้พวกเขาได้

    “ถ้ามีการเผาเกิดขึ้น มีคนแจ้งตำรวจ ก็โดนปรับ 1,000 – 2,000 บาท สุดท้ายเขาก็เผาเหมือนเดิม และตอนนี้ยังไม่มีมาตรการเด็ดขาด องค์กรเราก็เสนอในที่ประชุม แต่การบริหารจัดการก็ไม่ดีเท่าที่ควร จนกรมควบคุมมลพิษลงมาดู เขามีโครงการจัดทำบ่อขยะให้กำจัดแบบไม่มีมลพิษหรือให้เกิดมลพิษต่อคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยการจัดสร้างเตาขยะขนาดใหญ่ในการเผาให้ถูกวิธี ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะทำ แต่ยังไม่ได้มีความคืบหน้าเท่าที่ควร” นายสมหวัง กล่าว

    นายบุญรวม เลิศเสนา ผู้ประกอบการร้านคัดแยกขยะ ในพื้นที่หมู่บ้านหนองบัว ต.โคกสะอาด อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า “สมมุติว่าทางการสร้างเตาเผาขึ้นมา แล้วก็รับจ้างเผากิโลละ คนที่เอาขยะมาแกะเขาก็จะไปเผาที่นั่น คือตอนนี้มลพิษมันกระจายอยู่ตรงที่ว่าไม่มีทีเผาเป็นทิศเป็นทาง และถ้าไปเผาที่นู่นก็โดนจับ ถ้ามีเตาเผาเกิดขึ้น รัฐจะมีรายได้เกิดขึ้น มลพิษจะอยู่กับที่แต่ไม่กระจาย ความปลอดภัยสูงขึ้น ผู้ประกอบการก็จะปลอดภัยขึ้น นักวิชาการเข้ามาบอกอีกว่าเผาวิธีไหน มีคนที่รู้จริงเผามันก็จะดีขึ้นมาก แต่มันจะคุ้มไหม”

    ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ระบุว่าทางสำนักงานได้เข้าไปให้ความรู้กับชาวบ้านเสมอ แนะนำการป้องการสารพิษเข้าสู่ร่างกายทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ แต่ก็ยังไม่ได้รับความร่วมมือ สถิติการป่วยจากปี 2556 ตรวจเจอกลุ่มเสี่ยงในเด็ก (0-5ขวบ) มีค่าตะกั่วเกินมาตรฐาน จำนวน 1 คน ซึ่งเป็นบุตรของผู้ประกอบการ ปี 2557 ตรวจเจอกลุ่มเสี่ยงจำนวน 75 คน แต่ค่าตะกั่วไม่เกินมาตรฐาน

    นายดิลก แสนกั้ง เจ้าพนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า โรงคัดแยกอื่น ๆ เป็นอุตสาหกรรม แต่ที่นี่เป็นครัวเรือนที่คัดแยก กินข้าว ปรุงอาหาร อยู่ที่เดียวกันหมด เลยทำให้จัดการด้วยหลักวิชาการยาก ถ้าจะจัดการจริง ๆ ทุกหน่วยงานเลยเข้ามาช่วยกันเร่งแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านร่วมมือกัน คัดแยกขยะที่เป็นอันตราย และขยะครัวเรือนออกจากกัน ปัจจุบันนี้บ่อขยะมีพื้นที่ทั้งหมด 23 ไร่ และถูกจัดเป็นโซนให้ทิ้งและแยกประเภทขยะ แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน เพราะคนที่เข้าไปทิ้งไม่รับผิดชอบร่วมกัน ตอนนี้ก็มีแผนจะออกกฎหมายให้ชุมชนมีส่วนร่วมร่วมกัน เพื่อที่ประชาชนและหน่วยงานจะได้ประโยชน์ร่วมกัน และลดผลกระทบด้านสุขภาพ

    เรื่อง กรกนก เกียรติสมวงศ์

    ภาพ เชาวนี เขตจอหอ

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ