More
    Saturday, February 26, 2022
    Home เกษตรกรรม

    เกษตรกรรม

    อาชีพนายฮ้อย ผลกระทบรายได้ของเกษตรกรไทยจากพ่อค้าต่างชาติ

    อาชีพซื้อขายโคกระบือมีมาตั้งแต่ในสมัยอดีตซึ่งเดิมเรียกกันว่า นายฮ้อยวัวควาย หมายถึงพ่อค้า ที่นำฝูงวัวฝูงควายไปค้าขายตามพื้นที่ที่ห่างไกลในสมัยก่อน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งตลาดนัดโคกระบือในหลาย ๆ พื้นที่ของแต่ละจังหวัดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้นำโคกระบือมาจำหน่ายซื้อขายกัน โดยมีรูปแบบของ กระบวนการซื้อขายที่มีระบบดีขึ้นมากหากเทียบกับเมื่อก่อน  ส่วนราคาก็เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ                ในแต่ละช่วง ซึ่งการซื้อขายโคกระบือยังคงมีมาจนถึงทุกวันนี้และยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอยู่ แต่ทว่าด้วยปัจจัยการเข้ามารับซื้อเองถึงที่ของพ่อค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้รายได้ที่เคยมีของกลุ่ม เกษตรกรไทยนั้นกลับลดลง

    เตือน!! สารพิษตกค้างในผักเสี่ยงเนื้อเน่า

    อันตรายที่มาจากการบริโภคพืชผักในชีวิตประจำวัน  แน่ใจได้อย่างไรว่าผักที่เราบริโภคในทุกวัน ปลอดภัยและไร้สารพิษตกค้าง  ในปัจจุบันกระแสนิยมในเรื่องของการดูแลสุภาพกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ผักผลไม้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญของผู้รักษาสุขภาพ เนื่องจากผักและผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารอาหารสำคัญเช่น วิตามิน แคลเซียม เหล็ก เกลือแร่หรืออื่นๆ รวมถึงเส้นใยของผักผลไม้ยังช่วยทำให้ระบบการขับถ่ายของร่างกายเป็นปกติอีกด้วย ด้วยสรรพคุณที่มากมายและง่ายต่อการบริโภค ทำให้มีคนจำนวนมากนิยมหันมารับประทานผักผลไม้เพราะต้องการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าผักผลไม้เหล่านี้จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงแต่สิ่งที่มาพร้อมกันนั้นคือสารพิษที่อาจจะตกค้างจากการเพาะปลูกรวมอยู่ด้วย

    บ้านสวนซุมแซง รับบริจาคพันธุ์พืชช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวอุบลฯ

    ศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง จ.มหาสารคาม รับบริจาคเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยใน จ.อุบลราชธานี ได้มีเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกและทดแทนเมล็ดพันธุ์ที่สูญเสียไปกับน้ำท่วม โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศและนิสิตจิตอาสาที่ช่วยคัดแยกเมล็ดพันธุ์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   วันอังคารที่ 2 ตุลาคม 2562 ศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมเปิดรับบริจาคเมล็ดพันธุ์พืชอินทรีย์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบอุทกภัยใน จ.อุบลราชธานี โดย นางมาลี สุปันดี เจ้าหน้าที่เกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานและผู้จัดการศูนย์เรียนรู้การเกษตรชุมชนบ้านสวนซุมแซง เผยว่า “กิจกรรมในครั้งนี้เกิดขึ้นจากคนที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะพี่น้องที่ทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืน ซึ่งทางบ้านสวนซุมแซงได้มองเห็นปัญหาและอยากที่จะแบ่งปันสิ่งที่ตัวเองมีให้กับเพื่อนเกษตรกร ซึ่งปีนี้ก็ไม่ใช่ปีแรกที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น แต่เมื่อมีภัยพิบัติหรือสถานการณ์ที่ไหน...

    “ห้องแซง” แฟชั่นร่วมสมัย ผ้าภูไทสีคราม

    ผ้าไทย กลายเป็นมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมตั้งแต่เมื่อไหร่กัน ย้อนกลับไปสัก 10-20 ปี เราจะเห็นภาพยายจับกี่ทอผ้าพร้อมกับสอนแม่ที่นั่งข้างๆกัน ภาพแม่ช่วยยายหมุนไหม ภาพเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของใครหลายๆคน ปัจจุบันเราก็จะยังเห็นอยู่บ้างประปรายในสังคมชนบท เป็นภาพที่จำลองวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในยุคสมัยนั้น ในยุคที่เทคโนโลยียังไม่ก้าวกระโดดไปไกลอย่างเช่นปัจจุบัน การที่ผ้าไทยถูกมองว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม มันคือการนิยามให้ดูเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้อยาก ยิ่งทำให้เด็กยุคใหม่เริ่มห่างไกลจากผ้าไทยไปเรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการ ไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นสักเท่าไหร่นัก แต่เน้นที่ผู้ใหญ่เสียมากกว่า ทำให้ผ้าไทย ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหมหรือผ้าภูไท ถูกซื้อเป็นของขวัญ ของฝาก ให้คนรุ่นแม่ รุ่นย่า รุ่นยาย ไม่ได้ถูกซื้อเพื่อใส่ได้ในชีวิตประจำวันบ่อยนัก เราขอพาทุกคนไปสัมผัสกับเมืองรองที่ขึ้นชื่อว่า...

    อัญมณีเปลือกหอยแห่งท้องทุ่ง

    เมื่อทรัพยากรธรรมชาติอย่างหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูข้าวของชาวนา และเป็นปัญหาที่เกษตรกรแก้ไม่ตกมาโดยตลอด จนกระทั่งมีโครงการอบรมวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นการนำเปลือกหอยเชอรี่มาแปรสภาพเป็นสิ่งของประดับ ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านดอนสวน ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เปลือกหอยสีน้ำตาลอ่อนที่ดูไร้ค่า ไร้ประโยชน์ ถูกประดับบนแจกัน กล่องใส่ทิชชู จนเกิดเป็นลวดลายต่างๆ สวยงามสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ใส่ความตั้งใจของชาวบ้านที่ช่วยกันประติดประต่อเปลือกหอยทีละชิ้นๆ อย่างประณีตและชำนาญ จุดเริ่มต้นของเปลือกหอยสร้างรายได้ ผืนดินที่ถูกปกคลุมด้วยต้นข้าวอันเขียวขจีในวัยกำลังตั้งท้อง มันคือทุ่งนาที่เปรียบเสมือนชีวิตและจิตใจของเกษตรกรไทยทุกคน และนั่นก็เป็นที่อยู่ของศัตรูพืชตัวฉกาจอย่าง “หอยเชอรี่” เช่นกัน เห็นทีจะเป็นตามสำนวนไทยที่ว่า เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ เพราะหอยเชอรี่นั้นทำลายข้าวในนาจนหมดสิ้น แถมยังส่งกลิ่นเหม็นโชยไปทั่วสารทิศ เราได้พูดคุยกับหญิงวัยกลางคน รูปร่างสันทัดนามว่า แม่อำพร บรรเทา หัวหน้ากลุ่มผู้สูงอายุบ้านดอนสวน เล่าถึงความเป็นไปเป็นมาของโครงการนี้ “คนอีสานนิยมนำหอยเชอรี่มาประกอบอาหาร ส่วนเปลือกก็จะทิ้ง แต่เอาไปทิ้งที่ไหนมันก็เหม็น อีกอย่างหอยเชอรี่มันก็เป็นศัตรูพืช เพราะชอบกินต้นข้าวในนา ต้องหาทางกำจัด แล้วก็ได้อาจารย์จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้เปลือกหอย และจัดตั้งเป็นกลุ่มประจำหมู่บ้านขึ้น”...

    ธนาคารปุ๋ยบ้านวังหว้า ต้นแบบของธุรกิจชุมชน

    โครงการประชารัฐเป็นโครงการที่รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งงบประมานไปให้แต่ละหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในหมู่บ้าน เช่นเดียวกับกลุ่มสหกรณ์ปุ๋ยเคมีบ้านวังหว้า ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ที่ได้รวมกลุ่มจัดตั้งเพื่อให้ชาวบ้านที่ทำอาชีพเกษตรกรสามารถเบิกปุ๋ยไปใช้ได้ก่อน เมื่อชาวบ้านเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วก็จะต้องนำเงินมาจ่ายคืนสหกรณ์ นางเกษฏาภรณ์ ศรีบุญเรือง ประธานกลุ่มสหกรณ์ปุ๋ยเคมีบ้านวังหว้า ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เล่าถึงความคิดริเริ่มในการจัดตั้งสหกรณ์ปุ๋ยเคมีว่า รัฐบาลได้ให้งบประมาณมา 500,000 บาท ในการจัดตั้งครั้งนี้ ทางชุมชนได้มีการประชุมเพื่อที่จะนำเงินก้อนนี้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์และเป็นโครงการที่ยั่งยืนต่อชุมชนที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปทางชุมชนก็เลยตกลงก่อตั้งสหกรณ์ปุ๋ยเพื่อการเกษตรของชุมชนและให้ชาวบ้านที่ทำการเกษตรซื้อปุ๋ยในราคาถูกและสามารถเบิกปุ๋ยไปใช้ก่อนได้ หากเกษตรกรไม่มีทุนในการประกอบอาชีพ การเบิกปุ๋ยจะต้องทำสัญญากับทางสหกรณ์ก่อน     นายชาญ ธรรมบูชา กรรมการกลุ่มสหกรณ์ปุ๋ยเคมีฯ...

    บ้านดอนมัน ต้นแบบแห่งความพอเพียง

    บ้านดอนมันศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ต. ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม โดยมีผู้นำชุมชนคือนายอดิศร เหล่าสะพาน กำนันบ้านดอนมัน หรือที่รู้จักกันในนาม “ปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชน” ที่ได้นำชุมชนสร้างรายได้ผ่านการทำเกษตรภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ นายอดิศร เหล่าสะพาน เล่าว่า ตนได้ลาออดจากอาชีพหลักแล้วหันมาทำเกษตรกร ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยรู้ทิศทาง จึงเป็นการเริ่มต้นจากตนเองก่อน ได้ศึกษาโครงการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร (ร. 9) เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง คือการกินอยู่อย่างพอเพียง...

    “YSF” เกษตรกรพันธุ์ใหม่เน้นเกษตรปลอดสารพิษ

    จังหวัดมหาสารคาม ร่วมโครงการ Young Smart Farmer ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ภายใต้แรงสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร สู่เกษตรกรมืออาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษผ่านการรองรับมาตรฐานจาก GAP ให้มีคุณภาพ และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค นายปราโมทย์ วัฒนะ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า โครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ ( YSF : Young Smart Famer ) ได้เริ่มโครงการเมื่อปี...

    เกษตรกรร้อยเอ็ดปลูกอินทผลัมในทุ่งกุลาร้องไห้ ชูรายได้ดีขายเริ่มต้น กก.ละ 500 บาท

      เกษตรกรร้อยเอ็ดหันมาปลูกอินทผลัม เหตุสามารถปลูกในพื้นที่แห้งแล้งอย่างทุ่งกุลาร้องไห้ได้ และมีราคาดี ชูขายเริ่มต้นกิโลกรัมละ 500 บาท ขณะที่สภาเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดหนุนปลูกอินทผลัม ชี้เป็นทางเลือกที่ดีแก่เกษตรกร ด้านนักวิชาการแจงทิศทางพืชอินทผลัมไม่ยั่งยืน ย้ำเป็นแค่พืชทางเลือก ที่คนจะสนใจระยะสั้นเท่านั้น นายสมภพ ลุนาบุตร เจ้าของสวนอินทผลัม (สวนรวมใจ) บ้านเลขที่ 53 หมู่ที่ 9 บ.น้อยพัฒนา ต.ครั่งใหญ่ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า อินทผลัมเป็นพืชตระกูลปาล์ม...

    ข่าวน่าสนใจอื่นๆ

    สังคมเปิดกว้าง เพศก็อาจจะเปิดกว้างเช่นกัน – วิชชา สุยะรา

      “Gay The Rabbit” “เราไม่สามารถบังคับใครได้ แต่ถ้าสังคมเปิดใจให้กว้างจะสามารถเข้าใจและเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับเพศที่สามได้ไม่ยาก” นี่คือคำกล่าวของพี่ตุ้ย วิชชา สุยะรา เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก “Gay The Rabbit” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 79,908 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2559) และเคยฝากผลงานในภาพยนตร์เรื่อง “คืนนั้น red wine...

    ประลองฝีพายในงานประเพณีไหลเรือไฟ

    ในวันที่อากาศแจ่มใส แสงแดดสาดกระทบผิวน้ำ เป็นสัญญาณดีในการเริ่มต้นการแข่งขันพายเรือในงานประเพณีไหลเรือไฟ  ณ ริมแม่น้ำชี วัดเจริญผล ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม   งานนี้มีตั้งแต่วันที่ 22-24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา   ผู้เข้าแข่งขันมาจากต่างอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากจะมาเพื่อแข่งขันกันแล้ว ยังได้มาพูดคุยพบปะกันแลกเปลี่ยนเทคนิคการพายเรือของทีมอื่นด้วย อีกทั้งยังเป็นเทศกาลที่สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างต่างอำเภอและจังหวัดเข้าด้วยกันจากการประลองฝีพาย  และสีสันของกองเชียร์ที่ต่างส่งเสียงเชียร์ทีมที่กำลังแข่งกันอย่างสนุกสนาน การแข่งขันเรือจะแบ่งออกเป็นสองวันโดยวันแรกจะเป็นการแข่งประเภท 5 ฝีพาย เเละวันที่สองเป็นประเภท 10...

    ความฝันเล็ก ๆ ของเด็กชายหมายเลข 0

      ในช่วงที่ตะวันบ่ายคล้อยลงมา พระอาทิตย์กำลังจะดับแสง หนึ่งชีวิตกำลังเดินเท้ากลับบ้าน สังกะสีหลายแผ่นถูกตอกด้วยตะปู ประกอบสร้างให้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานก่อสร้างเท่านั้น แม้จะดูเล็ก คับแคบ ชวนให้อึดอัด แต่สำหรับเด็กชายแก้ว เก่งสารีกิจ หนุ่มน้อยวัย 13 ปี กลับรู้สึกว่าที่นี่คือสวรรค์เล็ก ๆ ที่เขาและครอบครัวได้พักพิง ทุกย่างก้าวชีวิตของเด็กชายถูกจำกัดไว้กับคำว่า “ไร้สัญชาติ” ผมเกิดและโตที่นี่ “ประเทศไทย” แก้ว หนุ่มน้อยร่างบาง ผิวสีแทน ดวงตากลมโต บอกเล่าถึงช่วงชีวิตที่ผ่านมาให้เราฟังอย่างตั้งใจว่า “ผมเกิดที่ประเทศกัมพูชา...