Home สารคดี
สารคดี
สิ่งแวดล้อม
ขยะทิ้งแล้วไปไหน?
จังหวัดมหาสารคามเป็นจังหวัดที่มีประชากรแฝงเป็นจำนวนมากเนื่องจากมีสถานศึกษาและชุมชนอยู่ร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากการมีประชากรแฝงจำนวนมากคือขยะ แล้วขยะทั้งหมดที่มีมากมายเหล่านี้เมื่อถูกทิ้งแล้วนำไปที่ไหนต่อ ? นี่เป็นประโยคคำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัย ขยะทั้งหมดที่มีรถขยะเข้ามาเก็บทุก ๆ เช้าถูกนำไปทิ้งที่ไหนต่อแล้วมีกระบวนการจัดการกับขยะเหล่านี้อย่างไร มีการคัดแยกขยะหรือไม่นั้น บทความนี้จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยกัน
บทความ
พิมายเมืองเก่า ที่เล่าผ่านมุมมองใหม่
"พิมาย" แหล่งท่องเที่ยวทา
ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญอีกหนึ่งแหล่งของประเทศไทย ที่กำลังจะได้รับยกย่องให้เป็นมรดกโลก ยังคงต้องรอวันประกาศอย่างเป็นทางการ
สัมภาษณ์
“รักอัน” จากบ้านไม้เก่าสู่ร้านกาแฟแสนอบอุ่นสไตล์ไทย-จีน
อากาศเริ่มหนาวเย็น การหาอะไรอุ่น ๆ ดื่มคือทางเลือกในการแก้หนาว แต่จะดีมากแค่ไหนถ้าหากบรรยากาศรอบข้างนั้นจะอบอุ่นไปพร้อม ๆ กับเครื่องดื่ม วันนี้หนังสือพิมพ์สื่อมวลชนพาท่านผู้อ่านหิ้วกระเป๋าใบเล็กมานั่งดื่มนมอุ่น ๆ ท่ามกลางบรรยากาศของร้านกาแฟที่อบอุ่นคูรสองที่ "รักอันคอฟฟี่"
บทความ
เช้าเมืองน่าน กับบทสนทนาความทรงจำ
น่าน หนึ่งในจังหวัดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแสนสงบทางภาคเหนือของประเทศไทย จังหวัดที่เต็มไปด้วยมนต์เสน์ของความเป็นพื้นเมือง วัด และสถานที่ท่องเที่ยว
บทความ
บ้านเด็กชายร่วมพัฒนา เตรียมความพร้อมส่งเด็กออกสู่สังคมอย่างสมบูรณ์
ช่วงเวลาบ่ายของวันหยุด ฉันและครอบครัวได้มีโอกาสได้ซื้อขนมขบเคี้ยวเพื่อให้เป็นอาหารว่างกับเด็ก ๆในสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในจังหวัดบ้านเกิดและขอเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพื่อประกอบการศึกษา ระหว่างขับรถผ่านประตูทางเข้า มีเด็กชายตัวเล็ก ผอมบาง ท่าทางดูต้องการอะไรบางอย่าง เขาวิ่งตามรถของฉันเข้ามาของด้วยหน้าตาสงสัย และด้วยอากาศค่อนข้างร้อน ฉันจึงจอดรถและเรียกเด็กคนนั้นมาสอบถาม
“ ชื่ออะไรครับ ”
เด็กชายอายุราวๆ 7-10 ปี ยิ้มรับและไม่ตอบคำถาม แต่ยิงคำถามกลับทันทีด้วยความเคยชินและดูเหมือนเป็นเด็กที่ทางสถานสงเคราะห์จัดหน้าที่ให้ดูแลสอบถามและให้ข้อมูลกับคนที่เข้ามาเป็นภาษาถิ่นหรือภาษาอีสานว่า “ มาเฮ็ดหยังกันครับ ” (มาทำอะไรกัน) ได้ยินแบบนั้นฉันจึงพูดภาษาถิ่นกับน้องเพื่อสร้างความคุ้นเคย บทสนทนาจะได้ดูไม่เครียดจนเกินไป
"มาหาแม่แอน ศาลากาแฟอยู่หม่องได๋ ฮู้บ้อ"(มาหาแม่แอน...
บทความ
ผ้าครามสกล:ความลงตัวระหว่างศิลปะกับธรรมชาติ
เมื่อนึกถึงจังหวัดสกลนครสิ่งที่ผุดเข้ามาในหัวเป็นอันดับต้น ๆ คงไม่ใช่เรื่องอื่นนอกจาก “ผ้าย้อมคราม” สกลยังเป็นเมืองที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนงานฝีมือหัตถกรรมมาอันดับต้น ๆ ระหว่างการเดินทางกับถนนสายที่คดเคี้ยวผ่านโค้งนับร้อย มุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทาง บ้านดอนกลอย ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เราบุกมาถึงแหล่งกำเนิดของผ้าย้อมครามโดยเฉพาะ
ด้วยเฉดสีน้ำเงินอินดิโก้ ตั้งแต่สีฟ้าปนขาวไปจนถึงสีน้ำเงินเข้มที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลุ่มหลง สีครามยังถูกจัดให้เป็นราชาแห่งสีย้อมธรรมชาติที่ใคร ๆ เห็นแล้วต้องตกหลุมรัก จึงทำให้ถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้สุดชิค ทั้งเครื่องประดับ เสื้อผ้า ของที่ระลึกมากมาย
มองไปทางไหนก็เห็นแต่ต้นครามพืชใบสีเขียวที่ตกกระทบกับแดดจัดยามสาย สมาชิกในชุมชนปลูกต้นครามกันทุกครัวเรือนกระจายตัวอยู่เกือบทุกอำเภอ อีสานเป็นพื้นที่โดนแดดสภาพอากาศก็เหมาะแก่การปลูก ...
สารคดี
ให้ต้นไม้เเละภูเขาอยู่เป็นเพื่อนคุณบนทางหลวงหมายเลข 12
“เราแค่ต้องการอยากเห็นหมอก”
กระเป๋าเดินทางถูกสะพายขึ้นบ่าในเส้นทางครั้งนี้เราไม่รู้เลยว่าจะไปพบเจออะไรในหนทางข้างหน้า เราแค่ต้องการให้ร่างกายได้ซึมซับกับสายหมอกของช่วงปลายฤดูฝน โดยที่จะให้ทางหลวงหมายเลข 12 เป็นเส้นทางที่จะพาเราไปชมธรรมชาติริมทางของถนนสายนี้
ทางหลวงหมายเลข 12 นับว่าเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เส้นทางสายนี้ยังเป็นเส้นทางที่นำพานักท่องเที่ยวไปสู่สถานท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอย่างอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติทุ่งแสงหลวง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และแหล่งท่องเที่ยวยอดยิยมอย่างเขาค้อ
ริมข้างทางหล่มสัก - พิษณุโลก
จากสี่แยกหล่มสักเราเดินทางต่อบนเขาไปพร้อมๆ กับพระอาทิตย์ที่เคลื่อนตัวขึ้นอย่างช้าๆ ในทางหลวงเส้นเดิมออกไปทางพิษณุโลกประมาณ 8 กิโลเมตร ดวงตาของเราเริ่มเปิดกว้างขึ้นเมื่อแสงที่ค่อยๆ สาดลงมาเผยให้เห็นถึงธรรมชาติที่งดงามทั้งสองข้างทาง ฝั่งนึงเป็นภูเขาสูง ส่วนอีกฝั่งก็งดงามไม่แพ้กันเป็นหุบเขาลึกลงไป มองออกไปเห็นภูเขาเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ บนยอดมีหมอกหนาปกคลุมระยะทางกว่าร้อยกว่ากิโลเมตรจากหล่มสักไปถึงพิษณุโลก คุณจะพบต้นไม้กับวิวภูเขางามๆทั้งสองข้างเป็นเพื่อนตลอดการเดินทาง
ตลาดแม้ว
เราขับชมวิวข้างทางขึ้นมาเล็กน้อยก่อนจะเข้าตำบลแคมป์สน...
สารคดี
อีสานโพ้นทะเล : ความรัก การย้ายถิ่น และการดิ้นรนของผู้หญิงอีสาน
ในครั้งหนึ่ง คำว่า “โพ้นทะเล” เราใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางอพยพออกจากจีนแผ่นดินใหญ่มาเสี่ยงโชคชะตาในต่างแดน แต่ในสารคดีเรื่อง Heartbound - A Different Kind of Love Story / เมืองแห่งหัวใจ - รักที่แตกต่าง (2018) ที่ถูกนำมาฉายในงานขอนแก่นเมนิเฟสโต้ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561...
สารคดี
แคนเขียวแดนดินอีสานบินลัดฟ้าสู่สากล
“ในโลกแห่งความเป็นสากล ตัวตนที่ชัดเจน จะทำให้เรามีที่ยืน ”
ใครจะคิดว่าเพียงไม้ไผ่แห้งธรรมดาๆ นำมาดัดแปลงให้เกิดความแตกต่างด้วยการแต่งแต้มสี จนกลายเป็นเครื่องดนตรีพิเศษร่วมสมัยอย่างแคนสีเขียว จะทำให้ชายผู้หนึ่งได้เดินตามเส้นทางดนตรีพื้นบ้านสู่เวทีนานาชาติ เขาที่เรากำลังจะกล่าวถึง คือผู้ที่ทุกคนเรียกขานว่า “อ้น แคนเขียว”
จากเด็กชายบ้านๆ ผู้คอยเป่าแคนเคียงข้างหมอเหยา (ผู้ประกอบพิธีกรรมรักษาอาการเจ็บป่วยตามความเชื่อของชาวกาฬสินธุ์ ) ความชำนาญจากประสบการณ์ในวัยเยาว์และความหลงใหลในเสียงแคนของเขา
ได้ทำให้ เด็กชายอ้น มุมานะฝึกซ้อมอย่างไม่ย่อท้อ จนทำให้ในวันนี้ เขากลายเป็น นายพงศพร อุปนิ - อาจารย์ (พิเศษ)...
ข่าวน่าสนใจอื่นๆ
ข่าว
สรุปข่าวดัง ปี 2562
เริ่มต้นปีใหม่ 2563 มาได้ไม่กี่วัน เรามาย้อนดูปรากฎการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในรอบปี 2562 ที่ผ่านมา วันนี้ทางหนังสือพิมพ์สื่อมวลชนได้รวบรวม 7 ข่าวดังมาทุกคนได้อ่านกัน
สังคม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับสมัครนิสิตเข้าร่วมโปรแกรมการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับ Dankook University ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้
มหาวิทยาลัยดันกุ๊ก (Dankook University) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ประชาสัมพันธ์รับสมัครนิสิตเข้าร่วมโปรแกรมการแลกเปลี่ยนนิสิต (Dankook University Exchange Program) ณ Dankook University ประกาศรับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2560 โดยนิสิตที่สนใจสามารถดูโปรแกรมต่างๆ ได้ที่ http://www.dankook.ac.kr/web/international/courses-taught-in-english
โดยนิสิตที่สนใจสามารถกรอก ใบสมัครออนไลน์ได้ที่...
สารคดี
ช้างน้อยในกำมือนาย
“ช้างกูอยู่ไหน...” วลีเด็ดจากภาพยนตร์ไทยเรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่ปลุกกระแสการลักลอบค้าช้างข้ามชาติ และภาพยนตร์คนเลี้ยงช้างอย่างเรื่อง ช้างเพื่อนแก้ว ที่ถ่ายทอดความผูกพันของคนกับช้าง และการนำช้างเข้าสู่วงการของธุรกิจใช้แรงงานต่างๆ ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับช้างในสมัยนั้นยังไม่ได้คุ้มครองและปกป้องช้างเท่าที่ควร แต่จากวันนั้นจนถึงวันนี้เห็นทีจะยังคงมีปัญหาที่เกี่ยวกับช้างอยู่ไม่จบสิ้น แสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่คุ้มครองสัตว์ป่าในบ้านเรานั้นมีความล้าหลังอยู่มาก
ช้างเร่ร่อน ช้างเลี้ยงคน คนเลี้ยงช้าง กับบริบททางสังคมที่เขาไม่สามารถอยู่ในป่าได้อย่างผาสุกอีกต่อไป สาเหตุสำคัญมาจากมนุษย์เราบุกรุกพื้นที่ป่า อันเป็นที่อาศัยของช้าง นำไปสู่ปัญหาที่ช้างป่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของเกษตรกร และการฆ่าช้างเอางาของกลุ่มนายทุนที่หากินกับอวัยวะของสัตว์ป่า ปัญหาต่างๆ นี้จึงนำไปสู่การแก้ไขที่เกิดขึ้นในรูปแบบของมูลนิธิ และโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ถิ่นกำเนิดช้าง
โครงการนำช้างคืนถิ่น รับช้างเร่ร่อนและควาญช้างให้กลับคืนสู่บ้านเกิด อย่างที่หมู่บ้านตากลาง...