More
    Sunday, March 6, 2022

    ธุรกิจจำลอง “ชิวเบรค” นำทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

    -

    ชมรมมาร์เก็ตติ้ง คลับ ภาควิชาการตลาด คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดบริษัทธุรกิจจำลองชิวเบรค จำกัด (Chill Break Dummy Company Limited by Marketing Club) จำหน่ายขนม อาหารว่าง และเครื่องดื่ม สร้างองค์ความรู้ด้านการวางแผนการตลาด นำทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

    อาจารย์อภิชัย  มหธรรม อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมมาร์เก็ตติ้ง คลับ ภาควิชาการตลาด คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยว่า ชมรมมาร์เก็ตติ้ง คลับ เริ่มก่อตั้งขึ้นวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทำกิจกรรมด้านวิชาการ – บำเพ็ญประโยชน์ เช่น การอบรมทางด้านการตลาด การเข้าร่วมโครงการแข่งขันทางธุรกิจ การออกค่ายอาสา ต่อมาจึงเล็งเห็นว่าอยากให้นิสิตได้นำความรู้ด้านทฤษฎีที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนมาใช้ต่อยอดในการปฏิบัติจริง จึงได้มีการปรึกษากันระหว่างอาจารย์ในภาควิชาการตลาดในขณะนั้น ได้แก่ ผศ.มลิจันทร์  ทองคำ อาจารย์ศรินทรีย์  อุดชาชน อาจารย์ปวิภาดา  ทวีสิทธิ์  รวมตัวอาจารย์เองทั้งหมด 4 ท่าน วางแผนกันว่าจะออกเงินทุนตั้งต้นคนละ  5,000  บาท (รวมเป็นเงินสองหมื่นบาท) เพื่อให้นิสิตนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ทำกิจกรรมทางการตลาด โดยมีข้อแม้ว่าเงินก้อนนี้ต้องมีการงอกเงยสามารถนำผลตอบแทนมาหมุนเวียนให้รุ่นน้องรุ่นต่อๆไปมาใช้ทำกิจกรรมได้ทุกๆ ปี  จึงได้เริ่มจัดตั้งโครงการธุรกิจจำลองหรือชิวเบรคในปี  2554  และทำการเปิดธุรกิจจำลองวันแรกในวันที่  2  ธันวาคม ปี 2554  ถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา  6  ปี

    อาจารย์อภิชัย  เผยต่อว่า ในช่วงเริ่มก่อตั้ง 1 – 3 ปีแรก  ชิวเบรคเป็นเพียงร้านค้าที่อาศัยเต็นท์ผ้าใบในการเริ่มทำธุรกิจ  ซึ่งมีมักประสบปัญหาเมื่อมีพายุฝน ลมแรง  เต็นท์ร้านจะถูกพัดเสียหาย  ภายหลังได้รับความอนุเคราะห์จากทางคณะให้ย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน ส่วนวิธีการดำเนินงานของชิวเบรคจะให้นิสิตชั้นปีที่ 2 – 4  มาเสนอแผนการดำเนินงานว่าแต่ละเทอมจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขายอย่างไร และจะทำการตลาดไปในทิศทางไหน   และจะทำการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดในเทอมที่ผ่านมาอย่างไร  เพราะแต่ละเทอมจะให้นิสิตประเมินผลว่าธุรกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่  ทั้งนี้ ผลตอบแทนที่นิสิตจะได้รับจากการฝึกประสบการณ์ที่ชิวเบรค คือ การได้ไปทัศนศึกษา และดูงานนอกสถานที่ในช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อน  โดยที่นิสิตจะไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ นิสิตสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำชิวเบรคไปประกอบการทำทำ Resume เพื่อใช้สมัครงานได้อีกด้วย  สิ่งที่สำคัญที่สุดที่นิสิตจะได้รับคือประสบการณ์  นิสิตได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้มีการวางแผนฝึกการเป็นผู้บริหาร  ในการทำงาน  ซึ่งนิสิตจะต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งในการทำงานทุกเทอม  กำไรยอดขายต่อหน่วยอาจจะได้ไม่มาก  แต่นิสิตจะได้กำไรในเรื่องขององค์ความรู้มากกว่า

    นางสาวสุกัญญา  แสนบุตร  ประธานชมรมมาร์เก็ตติ้ง คลับ นิสิตชั้นปีที่  3  ภาควิชาการตลาด  คณะการบัญชีและการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กล่าวว่า  การทำงานของชิวเบรคใน 1 วันจะมีอยู่ 4 กะ แต่ละกะจะใช้เวลาในการทำงานคนละ 3 ชั่วโมง ช่วงแรก 08.00 น. – 11.00 น.  ช่วงสอง 11.00น. – 14.00น. ช่วงสาม 14.00น.- 17.00 น.   และช่วงสุดท้าย  17.00น.-20.00 น. ซึ่งชิวเบรคมีรายได้น้อยสุดอยู่ที่ 5,000 บาท โดยจะเป็นช่วงของการสอบและช่วงที่นิสิตส่วนใหญ่กลับบ้าน  รายได้ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงที่มีการเรียนการสอนตามปกติ ลูกค้าที่มาอุดหนุนส่วนมากจะเป็นนิสิตที่มาทำกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณลาน MBS ของคณะการบัญชีและการจัดการ รวมถึงคณะใกล้เคียง ซึ่งเทอมที่ผ่านมารายได้รวมของธุรกิจจำลองอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

    นางสาวสุกัญญา  กล่าวต่ออีกว่า  เงินที่ได้มาก็จะนำเงินส่วนนี้จะนำมาใช้เพื่อจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาติวหนังสือให้แก่นิสิตภาควิชาการตลาด และมีการนำเงินที่ได้ส่วนหนึ่งมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับนิสิตคณะการบัญชีและการจัดการในวันไหว้ครูของทางคณะ  ส่วนกลยุทธ์ในการขาย  จะแบ่งให้แต่ละกลุ่มเรียนวางแผนว่าจะทำยังไงให้ร้านค้าของเราขายดี   เช่น  การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และกระตุ้นยอดขายโดยการจัดโปรโมชั่น  แล้วในช่วงปลายปีจะมีการไปสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพูดคุยการทำงานในแต่ละภาคเรียนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง  และหาวิธีการแก้ไขเพื่อนำมาปรับปรุงในปีถัดไป

    นายเขตวัน  นันทะแสง  นิสิตชั้นปีที่  3  ภาควิชาการตลาด  คณะการบัญชีและการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กล่าวว่า  จากประสบการณ์ที่ได้จากการทำชิวเบรค  คือ  ได้เรียนรู้ถึงช่องทางการขาย และรู้จักการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า ลูกค้าที่มาซื้อประจำ เราก็สามารถจำหน้าลูกค้าได้ และที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจจำลอง คือ  การเห็นภาพการเปรียบเทียบการทำการตลาดในความเป็นจริงและทฤษฏีในห้องเรียนว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน

     

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ