More
    Friday, March 4, 2022

    สิทธิความเท่าเทียมของเด็กที่เกิดในเรือนจำ

    -

    เด็กด้อยโอกาสเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาในหลายด้าน ในสังคมไทยมีเด็กด้อยโอกาสอยู่หลายกลุ่ม เด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่สังคมยังไม่ค่อยให้ความสำคัญและรับรู้ถึงเรื่องราว คือ เด็กที่เกิดในเรือนจำ ในที่นี้หมายถึงเด็กที่ติดครรภ์มารดาและมาคลอดในเรือนจำหรือทัณฑสถานระหว่างที่มารดาต้องโทษอยู่ ผลวิจัยในต่างประเทศพบว่า บุตรที่แยกจากมารดาตั้งแต่แรกคลอดทำให้ขาดโอกาสในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมต่อไปในอนาคตได้ (อ้างอิงจาก : ปิยะลักษณ์ ทัฬหิกรณ์. การปฏิบัติต่อหญิงมีครรภ์ในระหว่างการดำเนินคดีอาญา.วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, 2554กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.)

    สำหรับการดูแลเด็กที่เกิดในเรือนจำมีการพัฒนาขึ้นจากเดิม จากการที่เรือนจำนั้นได้เข้าร่วมโครงการกำลังใจในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนธิราเทพยวดี ที่ได้มองเห็นถึงความสำคัญและได้พยายามพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสกลุ่มนี้ ซึ่งได้มีข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงหรือข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กที่เกิดในเรือนจำหลายประเด็นอย่างเช่น ผู้ต้องขังหญิงซึ่งมีบุตรอยู่ร่วมในเรือนจำด้วยจะต้องได้รับโอกาสในการใช้เวลาอยู่ร่วมกันกับบุตรให้มากที่สุด หรือ ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรต้องได้รับคำแนะนำทางด้านสุขภาพและโภชนาการภายใต้โครงการที่ ถูกสร้างขึ้นและควบคุมโดยผู้ให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพที่ได้รับการรับรอง เป็นต้น
    (อ้างอิงจาก:http://www.correct.go.th/fdcphit/images/stories/pdf/bangkokrules.pdf)

    การถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพถือเป็นการลงโทษอย่างหนึ่งของผู้กระทำความผิดตามกฎหมายซึ่งจะกระทำโดยไม่เกินความจำเป็น ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังที่ปรากฎในข้อกำหนดระหว่างประเทศ เช่น สิทธิของผู้เป็นมารดาและเด็ก เป็นต้น สิทธิผู้ต้องขังนั้นถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่ปรากฏตามปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of HumanRight 1948) 3 ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง หรือ ข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rule) โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ที่ถูกส่งเข้ามาในเรือนจำนั้นมี กฎหมายและระเบียบที่แตกต่างจากผู้ต้องขังทั่วไป รวมไปถึงสิทธิของเด็กที่คลอดจากแม่ที่เป็นผู้ต้องขังด้วย

    โดยมีนางไก่ (นามสมมติ) ซึ่งผู้ต้องขังที่ถูกจำคุกระหว่างตั้งครรภ์ เปิดเผยว่า “ในตอนเป็นผู้ต้องขังที่ท้องอยู่เราก็จะได้อภิสิทธิ์มากกว่าผู้ต้องขังคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ การกิน การนอน ก็แยกจากผู้ต้องขังคนอื่น ไม่ต้องไปอยู่แออัดในห้องขัง จะมีห้องส่วนตัวให้ เป็นห้องแม่และเด็กเรื่องการทำงาน เราก็จะได้ทำงานบ้าง เป็นงานที่เบาๆ ไม่หนัก หลังจากคลอด การดูแลเรื่องอาหาร เรือนจำก็จะเป็นคนดูแลให้ มีการดูแลเรื่องอาหารให้ครบตามโภชนาการ 6เดือนแรก หลังจากนั้นเด็กจะต้องได้รับสารอาหารเพิ่ม เขาก็จะเป็นคนจัดเตรียมไว้ให้ ทั้งดูแลและให้ความสะดวกสบายด้วย (กรณีที่ไม่มีญาติมารับ)”

    ตามข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ข้อที่ 48 กล่าวไว้ว่า “ผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
    ต้องได้รับคำแนะนำทางด้านสุขภาพและโภชนาการภายใต้โครงการที่ ถูกสร้างขึ้นและควบคุมโดยผู้ให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพที่ได้รับการรับรอง ต้องจัดอาหารที่เพียงพอและใน เวลาที่เหมาะสมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้แก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็กและมารดาที่ให้นมบุตร” ซึ่งการดูแลผู้ต้องหาที่ตั้งครรภ์จะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารเรือนจำที่จะจัดผู้คุมให้มาดูแลให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด

    ทั้งนี้นางไพรินทร์ อาจอัน นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการภายในเรือนจำกล่าวว่า “ถ้ากรณี
    ไม่มีญาติรับไปเลี้ยง ยังไม่พ้นโทษ สามารถให้อยู่ได้ไม่เกิน3 ปี จากนั้นเรือนจำก็จะทำเรื่องให้ประชาสงเคราะห์มารับไป ก็เอาไปฝากไว้ที่ประชาสงเคราะห์เวลาแม่พ้นโทษก็จะไปรับต่อ กำหนดให้เพียงแค่นั้น เพราะว่าสามปี เด็กก็พอจะรู้เรื่องแล้ว เขาอาจจะรับในสิ่งที่ไม่ดีไป แต่ส่วนมากไม่เกินปีสองปีก็มีญาติมารับไปแล้ว บางคนคลอดมาญาติก็รับไปเลย เช่น กรณีของนางไก่ (นามสมมติ) ก็คลอดแล้วญาติก็รับไปเลย ลูกก็ไม่ได้กินนมแม่ กรณีที่ผู้ต้องขังคลอดที่โรงพยาบาลแล้วแจ้งว่าจะมีญาติมารับไปเขาก็จะไม่ให้เห็นแม่เลย” ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok rules) ข้อที่ 52 ว่าด้วย

    1. การตัดสินใจว่าเมื่อใดเด็กจะถูกแยกออกจากมารดาต้องขึ้นอยู่กับผลการประเมินของเด็กแต่ละคน
    และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายภายในของประเทศนั้นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    2. การย้ายเด็กออกจากเรือนจำต้องกระทำด้วยความละเอียดอ่อนและกระทำเมื่อมีการจัดเตรียมการดูแลทางเลือกอื่นๆ ไว้แล้วเท่านั้น และโดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่กงสุลในกรณีที่เป็นผู้ต้องขังชาวต่างชาติ
    3. หลังจากเด็กถูกแยกออกจากมารดาและให้ไปอาศัยอยู่กับครอบครัวหรือญาติ หรือการดูแลทางเลือก ผู้
    ต้องขังหญิงต้องได้รับโอกาสและการอำนวยความสะดวกมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เพื่อพบกับบุตรเมื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของเด็กและไม่ลดซึ่งความปลอดภัยสาธารณะ

    นางไก่ (นามสมมติ) เล่าให้ฟังต่อว่า “ตอนคลอดก็จะพาไปคลอดที่โรงพยาบาล การฝากครรภ์ก็จะทำตามที่โรงพยาบาลปกติเลย โดยจะมีผู้คุมที่พาไปโรงพยาบาล ซึ่งในที่นี้ประชาสงเคราะห์เป็นผู้สนับสนุน เขาก็จะมีมาให้ฟรีหมด มีให้ทุกอย่าง ของใช้เขาก็จะมีมาให้ มีทุกอย่าง ฟรีทุกอย่าง หรืออย่างเช่นครบกำหนดที่เด็กต้องไปฉีดวัคซีนก็จะมีผู้คุมนำเด็กไปหาหมอ แต่แม่ไม่สามารถตามไปด้วยได้ เพราะว่าลูกไม่ใช่ผู้ต้องขัง เวลาลูกป่วยก็ให้นอนโรงพยาบาล ถ้ามีญาติก็ให้ญาติดูแล แต่ถ้าไม่มีก็จะเป็นผู้คุมหรือพยาบาลเป็นคนดูแล” สำหรับสวัสดิการทั้งหมดนี้จะให้เพียงแค่ตัวเด็กเท่านั้น เพราะถือว่าเด็กไม่ได้มีความผิดตามมารดา และทั้งหมดนี้เป็นสิทธิที่เด็กควรได้รับ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ซึ่งจะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเด็ก และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อที่เด็กจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป ดังนั้น เด็กที่เกิดในเรือนจำจะได้รับสวัสดิการต่างๆ ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป ภายใต้สิทธิเด็กที่ควรจะได้รับในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

    เด็กในเรือนจำ

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ