More
    Saturday, February 26, 2022
    Home สังคม เศรษฐกิจ

    เศรษฐกิจ

    อัญมณีเปลือกหอยแห่งท้องทุ่ง

    เมื่อทรัพยากรธรรมชาติอย่างหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูข้าวของชาวนา และเป็นปัญหาที่เกษตรกรแก้ไม่ตกมาโดยตลอด จนกระทั่งมีโครงการอบรมวิชาชีพของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นการนำเปลือกหอยเชอรี่มาแปรสภาพเป็นสิ่งของประดับ ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านดอนสวน ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เปลือกหอยสีน้ำตาลอ่อนที่ดูไร้ค่า ไร้ประโยชน์ ถูกประดับบนแจกัน กล่องใส่ทิชชู จนเกิดเป็นลวดลายต่างๆ สวยงามสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ใส่ความตั้งใจของชาวบ้านที่ช่วยกันประติดประต่อเปลือกหอยทีละชิ้นๆ อย่างประณีตและชำนาญ จุดเริ่มต้นของเปลือกหอยสร้างรายได้ ผืนดินที่ถูกปกคลุมด้วยต้นข้าวอันเขียวขจีในวัยกำลังตั้งท้อง มันคือทุ่งนาที่เปรียบเสมือนชีวิตและจิตใจของเกษตรกรไทยทุกคน และนั่นก็เป็นที่อยู่ของศัตรูพืชตัวฉกาจอย่าง “หอยเชอรี่” เช่นกัน เห็นทีจะเป็นตามสำนวนไทยที่ว่า เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ เพราะหอยเชอรี่นั้นทำลายข้าวในนาจนหมดสิ้น แถมยังส่งกลิ่นเหม็นโชยไปทั่วสารทิศ เราได้พูดคุยกับหญิงวัยกลางคน รูปร่างสันทัดนามว่า แม่อำพร บรรเทา หัวหน้ากลุ่มผู้สูงอายุบ้านดอนสวน เล่าถึงความเป็นไปเป็นมาของโครงการนี้ “คนอีสานนิยมนำหอยเชอรี่มาประกอบอาหาร ส่วนเปลือกก็จะทิ้ง แต่เอาไปทิ้งที่ไหนมันก็เหม็น อีกอย่างหอยเชอรี่มันก็เป็นศัตรูพืช เพราะชอบกินต้นข้าวในนา ต้องหาทางกำจัด แล้วก็ได้อาจารย์จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าให้เปลือกหอย และจัดตั้งเป็นกลุ่มประจำหมู่บ้านขึ้น”...

    ทุ่มงบกว่า 3 ล้านรีโนเวทตลาด “เอ็กซ์โป มาร์เก็ต”

    ผู้บริหารเอ็กซ์โปมาร์เก็ตย่าน มมส ทุ่มงบกว่า 3 ล้านบาท ปรับปรุงตลาดให้มีความทันสมัยมากขึ้น มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายนิสิตนักศึกษา ชูจุดเด่นเป็นตลาดที่อยู่ควบคู่กับมหาวิทยาลัย พร้อมดึงวงดนตรีเข้ามาแสดง ด้านอนาคตเร่งขยายพื้นที่ เพิ่มโซนสำหรับการวางจำหน่ายสินค้า โซนเกมส์และตู้คาราโอเกะ พร้อมเตรียมจัดกิจกรรมประกวดแสดงความสามารถ ทั้งการเต้น COVER ประกวดร้องเพลง เพื่อปรับเปลี่ยนให้เป็นตลาดสมัยใหม่ นายพรหมพิริยะ หุ่นพยนต์ หนึ่งในผู้บริหารตลาดเอ็กซ์โปมาร์เก็ต ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (ย่านมหาวิทยาลัยมหาสารคาม...

    “น้ำดื่มฮักแฮง” แบรนด์เพื่อชุมชน

    นายคำพอง  ศรีสอน  ประธานโรงน้ำดื่มฮักแฮง  บ้านหินปูน หมู่ที่ 17  ตำบลเขวาใหญ่  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  กล่าวว่า  เริ่มทำโรงน้ำดื่มในปี  2554  รวมระยะเวลา  6  ปี  ซึ่งกรมพัฒนาชุมชนได้นำเครื่องกรองน้ำมาจากประเทศจีน  และจังหวัดมหาสารคามได้รับมาจำนวน 3  เครื่อง  ทั้งนี้เหตุเพราะบ้านหินปูนเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมทุกปี จึงได้รับเครื่องกรองน้ำมาไว้สำหรับกรองน้ำดื่ม อุปโภคบริโภคภายในหมู่บ้าน และหลังจากที่อาจารย์คณะบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม...

    มองต่างมุมเรื่องบัตรคนจน เกาถูกที่คันจริงหรือ ?

    หากกล่าวถึงปัญหาความยากจนของประชาชนในประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกรัฐบาลยังหาทางออกวิธีที่ดีที่สุดกับเรื่องนี้ไม่ได้และยังไม่ได้รับถูกแก้ไขอย่างถาวร ที่ผ่านมามีหลายโครงการ ที่รัฐบาลทุกยุคสมัยพยายามผลักดันนโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยและลดปัญหาความยากจนให้หมดไปในสังคมไทย ปัจจุบันรัฐบาล คสช. ได้มีนโยบายโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคมภายใต้โครงการ e-Payment ภาครัฐ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของการจัดสวัสดิการสังคมและการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ สำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าปัญหาหรือแนวโน้มที่ที่จะเกิดหลังการแจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อีกทั้งนโยบายเช่นนี้คือทางออกที่ดีแล้วหรือไม่ นิยามของคำว่าคนจน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สื่อมวลชนได้ลงไปสอบถามข้อมูล ดร.อุทิศ พงศ์จิรวัฒนา  อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นิยามคำว่าคนจนไว้ว่า คนที่อยู่ต่ำกว่า...

    ธุรกิจจำลอง “ชิวเบรค” นำทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง

    ชมรมมาร์เก็ตติ้ง คลับ ภาควิชาการตลาด คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดบริษัทธุรกิจจำลองชิวเบรค จำกัด (Chill Break Dummy Company Limited by Marketing Club) จำหน่ายขนม อาหารว่าง และเครื่องดื่ม สร้างองค์ความรู้ด้านการวางแผนการตลาด นำทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง อาจารย์อภิชัย  มหธรรม อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมมาร์เก็ตติ้ง คลับ ภาควิชาการตลาด...

    ปลูกผักบุ้งส่งร้านรอบม.ใหม่ โกยรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

    เขตพื้นที่ตำบลขามเรียง  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  หรือที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ( ม.ใหม่ ) มีประชากร 3-4 หมื่นคนส่งผลให้เศรษฐกิจรอบมหาวิทยาลัยขยายตัวอย่างรวดเร็ว   เกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงเล็งเห็นถึงโอกาสหารายได้เสริม ปลูกผักบุ้งส่งขายให้ร้านค้าบริเวณมหาวิทยาลัย  สามารถสร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน นายสมพงษ์ บุญหล้า เกษตรกรชาวบ้านมะกอก  ตำบลขามเรียง  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม  ผู้ปลูกผักบุ้งรายใหญ่ของหมู่บ้าน  กล่าวว่า เริ่มทดลองทำเกษตรสวนชีวภาพผักบุ้งตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2551  รวมระยะเวลา...

    จับตาพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ในยุคขยายตัว ราคาที่ดินรอบ มมส พุ่งขึ้นกว่า 90%

      แต่ละปีมีนิสิตเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) เป็นจำนวนมาก โดยปีการศึกษา 2559 มีนิสิตจำนวน 54,172  คน ทำให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาทำธุรกิจภายในพื้นที่จำนวนมากเช่นกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนิสิตและผู้อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็น หอพัก ร้านค้า ร้านขายยา คลินิก  ร้านอาหาร สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า และการสร้างอาคารพาณิชย์  ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจพอสมควร เมื่อมีผู้เข้ามาลงทุนทำธุรกิจมากขึ้นแน่นอนว่าในการสร้างอาคารและธุรกิจดังกล่าวต้องใช้ที่ดินในการประกอบสร้าง ทำให้ราคาที่ดินที่อยู่รอบๆเขตพื้นที่  มมส มีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาในอดีต และในการสร้างแต่ละที่นั้นจะมีขอบเขตในการก่อสร้าง ซึ่งเทศบาลตำบลท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย...

    มะพร้าวขาดตลาด ผู้ประกอบการเผย สั่งมะพร้าวนอกมาขาย หวั่นขาดทุน

      มะพร้าวจากภาคใต้ขาดตลาด ผู้ประกอบการเผย สั่งมะพร้าวจากเวียดนามขายแทน ราคาถูกกว่า แต่คุณภาพไม่ดีเท่ามะพร้าวใต้ หวั่นลูกค้าหาย กำไรหด นางจันทมาส วงศ์สุวัฒน์ ผู้ประกอบกิจการร้านกะทิสด ตลาดเทศบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เผยว่า ตนขายมะพร้าวมา 10 กว่าปี แต่ 2-3 ปี มานี้ มะพร้าวเริ่มไม่ค่อยมี เกิดจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และแมลงลงสวนใะพร้าว ทำให้มะพร้าว ต้นตาย...

    เกษตรกรขาดทุนเหตุราคามันสำปะหลังตกต่ำ

      ราคามันสำปะหลังตกต่ำในรอบสองปี เหตุจากเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านผู้ประกอบการ และเกษตรกรต่างได้รับผลกระทบ ผู้ประกอบการและเกษตรกรได้รับผลกระทบสืบเนื่องมาจากราคามันสำปะหลังตกต่ำ ส่งผลให้การซื้อขายมันสำปะหลังเป็นไปอย่างเข้มงวดกรวดขัน ด้านเกษตรกรต่างพากันเตรียมตัวรับมือ นางเพ็ญภักดิ์ สุทธิประภา เกษตรกร บ้านเลขที่ 92 หมู่ 20 ต.นาสีนวล อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เผยว่า ตั้งแต่ได้ทำการปลูกมันสำปะหลังมา ปีนี้ราคามันสำปะหลังต่ำกว่าปีก่อน จากเดิมเคยขายได้ราคา 2.10 บาท/กิโลกรัม แต่ปีนี้กลับขายได้เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทกว่า...

    ข่าวน่าสนใจอื่นๆ

    เตือนภัย! การโกงค่าจ้างจากธุรกิจออนไลน์

    ธุรกิจออนไลน์เป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมอย่างมาก การมีหน้าร้านไม่จำเป็นสำหรับธุรกิจออนไลน์อีกต่อไป เพียงแค่มีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนใช้งานเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือหรือตัวช่วยในการซื้อขายสินค้า รวมไปถึงการจ้างงานผ่านทางออนไลน์ ทำให้การซื้อขายทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย และประหยัดเวลา ซึ่งการทำงานผ่านสมาร์ทโฟนก็อาจจะถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องของค่าจ้างงานได้ โดยที่เมื่อรับงานมาทำเเล้ว ผู้ที่จ้างงานไม่จ่ายค่าเเรงตามกำหนดหรือถ้าได้งานที่เราส่งไปแล้วก็อาจจะบล็อคช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งค่าจ้างงานให้นั่นเอง ทั้งนี้ การทำงานออนไลน์ก็มีข้อดีเเละข้อเสียที่ต่างกันไป ข้อดีก็คือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาตามที่ต้องการ เพียงแค่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือเท่านั้น ส่วนข้อเสียคือเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะโดนโกงค่าจ้างงานหรือค่าสินค้าหรือไม่ ซึ่งการทำงานออนไลน์ในแต่ละอย่างก็จะเเตกต่างกันออกไป งานที่เป็นที่นิยมในหมู่นิสิตนักศึกษาจะเป็นงานจำพวก การเขียนรายงาน หรือเขียนสูตรส่วนผสมของสมุนไพร การทำงานดังกล่าวจะไม่มีการกำหนดเวลาส่งงาน ทำเสร็จเมื่อไรก็ส่ง และจะได้เงินเมื่อรายงานถึงมือผู้จ้างงานเเล้วเท่านั้น นางสาวสิริน ตันเปีย...

    นิสิต มมส 5 คณะ ผนึกกำลังออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน เพื่อเรียนรู้การทำงานของสหวิชาชีพ

      คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) จัดโครงการการจัดการเรียนการสอนระหว่างวิชาชีพ (Interprofessional Education; IPE) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ระหว่างนิสิต 5 คณะ ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในรูปแบบการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ ผู้สื่อสาร การแก้ไขสถานการณ์ การเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์...

    ไขปัญหา พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ.2558 ให้แยกชายหญิง

      คุ้มครองสวัสดิภาพนิสิตหรือแก้ปัญหาปลายเหตุ ในปัจจุบันธุรกิจหอพักบริเวณโดยรอบเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคามผุดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับนิสิตที่มีจำนวนราว 54,172 คนในปีการศึกษา 2559 แต่ยังมีปัญหาในเรื่องการแยกหอพักชายและหอพักหญิงอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงมีการออกพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558 ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558 ออกมาใช้แทนพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2507 หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา โดยเริ่มมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2558 เป็นต้นมา ระบุว่า หอพักมี 2 ประเภท ได้แก่ (1)...