More
    Saturday, February 26, 2022
    Home สังคม เศรษฐกิจ

    เศรษฐกิจ

    นิสิต มมส หันพึ่งเงินนอกระบบ ชี้ใช้สิทธิ กยศ. ค้ำ

    นิสิต มมส หันพึ่งเงินนอกระบบ โดยใช้สิทธิ กยศ. ค้ำ เหตุเงิน กยศ. ออกล่าช้า  ผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบเผยผู้กู้ที่เป็นนิสิต กยศ. คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อเดือน หักดอกเบี้ยรวบยอดครั้งเดียวจากเงินต้น ตามจำนวนเดือนที่ผู้กู้ต้องการ ขณะที่นักวิชาการระบุการการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีถือว่าผิดกฎหมาย จากการณีที่เมื่อต้นภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส)...

    ข่าวน่าสนใจอื่นๆ

    มมส จัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ น้องใหม่ภุมริน 12 แบบ New Normal

    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญน้องใหม่ รุ่นภุมริน 12 โดยมีองค์การนิสิต ร่วมกับกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้แนวคิด "โฮมขวัญน้องจ่องสายแนน ผูกเอาแขน ว่ามาเย้อขวัญเอย" ในวันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2563 ณ ลานอัฐศิลป์ (แปดเหลี่ยม) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธาน มีนายธงฉาน บุดดา นายกองค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวรายงาน กิจกรรมในครั้งนี้มีมาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 แบบ New Normal

    เลือกตั้งองค์การนิสิต มมส 60

    องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการจัดการเลือกตั้ง คณะกรรมการองค์การบริหารงานนิสิตเพื่อคัดเลือกผู้สมัครหน้าใหม่ขึ้นมารับตำแหน่ง ผู้บริหารงานองค์การนิสิตในปี 2560 นี้ ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีผู้ลงสมัครเลือกตั้งทั้งสิ้น 3 พรรค ได้แก่ พรรคชาวดิน (เบอร์ 1) ,พรรคมอน้ำชี (เบอร์ 2) และ พรรคพลังสังคม (เบอร์ 3) ซึ่งผู้สมัครแต่ละพรรคต่างก็งัดไม่เด็ดออกมาเรียกคะแนนให้พรรคตน เช่น การติดตั้งป้ายหาเสียงพร้อมนโยบายของพรรคไว้ตามจุดต่างๆรอบมหาวิทยาลัย...

    สิทธิความเท่าเทียมของเด็กที่เกิดในเรือนจำ

    เด็กด้อยโอกาสเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาในหลายด้าน ในสังคมไทยมีเด็กด้อยโอกาสอยู่หลายกลุ่ม เด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่สังคมยังไม่ค่อยให้ความสำคัญและรับรู้ถึงเรื่องราว คือ เด็กที่เกิดในเรือนจำ ในที่นี้หมายถึงเด็กที่ติดครรภ์มารดาและมาคลอดในเรือนจำหรือทัณฑสถานระหว่างที่มารดาต้องโทษอยู่ ผลวิจัยในต่างประเทศพบว่า บุตรที่แยกจากมารดาตั้งแต่แรกคลอดทำให้ขาดโอกาสในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมต่อไปในอนาคตได้ (อ้างอิงจาก : ปิยะลักษณ์ ทัฬหิกรณ์. การปฏิบัติต่อหญิงมีครรภ์ในระหว่างการดำเนินคดีอาญา.วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, 2554กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.) สำหรับการดูแลเด็กที่เกิดในเรือนจำมีการพัฒนาขึ้นจากเดิม จากการที่เรือนจำนั้นได้เข้าร่วมโครงการกำลังใจในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนธิราเทพยวดี ที่ได้มองเห็นถึงความสำคัญและได้พยายามพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสกลุ่มนี้ ซึ่งได้มีข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงหรือข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กที่เกิดในเรือนจำหลายประเด็นอย่างเช่น...