More
    Sunday, March 6, 2022

    การปรับตัวของสื่อ (ท้องถิ่น) ในยุคดิจิทัล

    -

    เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00-15.00 น. ณ จัมป์สเปซ จ.ขอนแก่น  คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ภายใต้กรรมการจริยธรรม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  จัดทำเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนสื่อมวลชนกระแสหลัก สื่อมวลชนส่วนภูมิภาค กับตัวแทนของผู้ผลิตสื่อออนไลน์ นักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานองค์กรภาครัฐ และเอกชน เพื่อนำเสนอแนวคิดการทำงานร่วมกันบนหลักการสิทธิเสรีภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วมของพลเมือง รวมถึงเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    ภายในงานมีผู้เข้าร่วมวงเสวนากว่า 20 คน เป็นบุคคลในแวดวงสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสภาการหนังสือพิมพ์ บรรณธิการหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์กระปุกดอทคอม ผู้ผลิตสื่อเครือข่ายชุมชน รวมถึงอาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ด้วยบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการนัก เนื่องจากต้องการให้ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองกันได้อย่างทั่วถึง

    1

    นายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อีสานบิซ เกริ่นนำเข้าสู่วงเสวนาอย่างเป็นทางการว่า ในยุคที่สื่อกำลังจะเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีประชาชนจะได้อะไรบ้าง พวกเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองในการขับเคลื่อนขบวน หน่วยงานวิชาการก็เป็นฟันเฟืองหนึ่ง หน่วยงานรัฐก็เป็นอีกฟันเฟืองหนึ่ง และสุดท้ายคำตอบจะอยู่ที่ประชาชน ดังนั้น ถ้าพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ พลเมืองก็จะมีพลัง เป็นพลังพลเมืองเพื่อขับเคลื่อนสังคมต่อไป

    นายธวัชชัย โครตวงษ์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ภาคอีสาน กล่าวถึงดิจิทัลกับคนอีสานไว้ว่า ภาครัฐให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาทั้งคนและเมือง พัฒนาคนโดยการจัดอบรมเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดีย ทั้งเรื่องมารยาทในโซเชียลและการดูแลเว็บไซต์ (ร่วมกับคณะบัญชีและการจัดการ มมส) และพัฒนาเมือง (City Data Platform) อย่าง Smart City รูปแบบเมืองอัจฉริยะ นำร่องพัฒนาใน 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ภูเก็ต เชียงใหม่ โดยขอนแก่นเน้น Smart Mobility (ด้านการคมนาคม) Smart Economy (ด้านเศรษฐกิจ) Smart Living (ด้านการแพทย์)

    สำหรับดร.เอื้อจิต  วิโรจน์ไตรรัตน์ อดีตผู้อำนวยการโครงการมิเดีย มอนิเตอร์ กล่าวถึงดิจิทัลกับการขับเคลื่อนสังคมว่า การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับปัจจัยเงินทุน เรายอมจ่ายค่าแพ็กเก็ตอินเทอร์เน็ตในราคาเดือนละเกือบพันบาทได้ เพราะความจำเป็นที่ต้องใช้ จึงมีความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงอยู่ แต่เราสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นได้ โดยการปรับราคาค่าบริการในการใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นมาตราฐานทั้งราคาและคุณภาพ

    ด้านการเข้าถึงผู้บริโภคในสื่อออนไลน์ ทันทีที่มีสื่อออนไลน์ สิ่งที่เข้าถึงคนได้เร็วและแรง กลายเป็นมุมมืดเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายออนไลน์ที่เป็นกำลังเป็นกระแสอยู่ เช่น ยาลดน้ำหนัก ยาขาว ยาปลุกเซ็กซ์ โฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ต่างๆ ส่วนเนื้อหาที่ทำให้คนเข้าถึงไม่ใช่เรื่องที่พัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา แต่เป็นเรื่องที่เร้าอารมณ์ ซึ่งเราจะไม่โทษใคร แต่ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเราถึงผลิตเนื้อหาให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ไม่มากพอ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงดิจิทัลจึงทำให้คนแตกเป็นส่วนๆ คนส่วนหนึ่งจะเข้าหาสิ่งที่ตัวเองชอบ สนใจในเรื่องดีๆ คนส่วนหนึ่งจะเข้าหาเนื้อหามุมมืด เรื่องลามกอนาจาร เป็นต้น

    “การที่ดิจิทัลเข้าโดยที่เรายังไม่มีวัฒนธรรม ยังไม่มีใครรู้ว่าควรจะทำอย่างไรกับสื่อนี้ เราควรที่จะต้องปลูกฝังแบบแผนการใช้สื่อออนไลน์  แล้วให้รู้ว่าดิจิทัลให้อะไรกันสังคมในด้านไหนบ้างหรือสื่อออนไลน์ทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าสื่อออนไลน์จะนำเสนอเนื้อหามุมมืดเสมอไป แต่ถ้าจัดสัดส่วนเนื้อหาแล้ว มุมสีเทา กับสีดำมันมีมากกว่า มักผลิตเรื่องที่ทำให้ยอดไลค์ ยอดวิวพุ่งสูงขึ้น โดยอาจจะไม่ได้คำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ สื่อหลักนำมาผลิตซ้ำตามสื่อออนไลน์ นำเสนอข่าวดราม่า ประเด็นเรื่องเพศ และใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม  ”ดร.เอื้อจิตร กล่าวเสริม

    5

    อาจารย์นพพร พันธุ์เพ็ง ประธานสื่อสร้างสุข กล่าวถึงบทบาทและการเข้าถึงสื่อออนไลน์ของชุมชนว่า เฟซบุ๊กและไลน์มีอิธิพลต่อคนในชุมชนมาก เราพยายามผลักดันให้ใช้อย่างถูกต้อง มีการจัดอบรมผลิตสื่อ โดยใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายและตัดต่อคลิปที่จะนำเสนอ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และ รู้เท่าทัน ถ้าคนในชุมชนเข้าถึงสื่อก็จะทำให้พัฒนาได้เร็ว คนในพื้นที่สามารถสร้างคอนเทนต์ที่ต้องการได้ การที่จะลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถถึงอินเทอร์เน็ตนั้น อาจจะต้องทำให้ทุกชุมชนนั้นมีไวไฟบริการอย่างทั่วถึง

    ในประเด็นการปรับตัวของดิจิทัล สร้างโอกาสและความท้าทายให้กับสื่อ นายชุมพร พารา เจ้าของเว็บไซต์ขอนแก่นลิ้งค์ มองว่า การเข้ามาของสื่อออนไลน์นอกจากจะมีผลกระทบต่อสื่อหลักแล้วยังกระทบต่อเว็บไซต์ ที่เป็นแพลตฟอร์มหลักของออนไลน์ เนื่องจากเฟซบุ๊กเข้ามามีอำนาจในการต่อรองกับสื่อ มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เป็นค่าโฆษณา ทั้งนี้ตนมองว่า การที่ดิจิทัลเข้ามาเป็นโอกาสให้สร้างรายได้ จากการผลิตคอนเทนต์ และเปิดโอกาสให้คนทั่วไปเข้าถึงและแจ้งข้อมูลข่าวสารถึงเราได้

    อาจารย์สุรีวัลย์ บุตรชานนท์ ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงความคิดเห็นว่า การผลักดันให้ดิจิทัลเข้ามาอยู่ในหลักสูตรก็ถือเป็นการปรับตัวในด้านของการศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน โดยเพิ่มทักษะให้นิสิต

    ด้านนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และอดีต กสทช. เสนอว่า ควรมีกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีระบบร้องเรียนการทำงานของสื่อ มีกลไกลรัฐที่เอกชนเกรงใจเพื่องป้องกันการทำผิดซ้ำๆของสื่อ

    นายธีระพงษ์ โสดาศรี อดีตอธิการบดีกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นว่า ควรให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีคนจากทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายฝ่ายมาช่วยกันดูแลแก้ไข ระบุอำนาจให้ชัดเจน

    ขณะที่นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้จัดการสมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น แสดงความเห็นว่า การกำกับดูแลของไทยตอนนี้คือถือกฎหมายกันคนละฉบับ กระทรวงดิจิทัลที่มีสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) จะไปเชื่อมกับหน่วยงานสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ้าทั้งสามหน่วยงานมาคุยกัน ก็จะช่วยแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง

    อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่นในยุคดิจิทัลก้าวกระโดดจะต้องมีการจัดระเบียบโซเชียลมีเดีย พัฒนาคอนเทนต์ของสื่อ ลดข่าวร้ายเพิ่มข่าวดี เพราะประชาชนยังคงพึ่งความน่าเชื่อถือจากสื่อหลัก ผู้รับสารต้องรู้เท่าทันสื่อ ส่วนสื่อเองก็ต้องรู้เท่าทันข้อมูลที่ได้รับมา แต่จะรู้เท่าทันสื่อได้อย่างไรนั้นสื่อเองก็ต้องเป็นตัวสร้างวัฒนธรรมในการใช้ดิจิทัลว่าควรจะไปในทางไหน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งพลเมืองและสื่อมวลชน

    บทสรุปของวงเสวนาครั้งนี้ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด มีเพียงแนวทางที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในรูปแบบของนโยบายและโครงการต่างๆ หากได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนจะเป็นผลดีต่อสื่อท้องถิ่นและคนในชุมชน

    6

    กดแชร์ข่าวนี้

    โพสล่าสุด

    DADA delivery ธุรกิจเพื่อคนมหาสารคาม

    ธุรกิจเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ร้านอาหารถูกสั่งให้จำหน่ายอาหารแบบห่อกลับบ้านเท่านั้น ตลอดจนนโยบายให้กักตัวอยู่บ้าน ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเรียกใช้บริการเป็นจำนวนมากในหลายจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดมหาสารคามเองก็มีเดลิเวอรี่หลายเจ้าให้เรียกใช้บริการ ทำให้คนในจังหวัดสะดวกสบายและลดวามเสี่ยงจากการสัมผัสเชื่อไวรัส COVID-19 อีกด้วย

    ครูชี้ นักเรียนดี ไม่ต้องพึ่งไม้เรียว

    การลงโทษนักเรียนนั้น มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษตามกฎระเบียบไปจนถึงการลงโทษที่นอกเหนือจากกฎระเบียบ ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ข่าว หรือโดนกระทำเอง แต่อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ลงโทษนอกเหนือจากกฎระเบียบ หรือลงโทษโดยการใช้อารมณ์ตัดสิน ทำให้นักเรียนได้รับผลกระทบในด้านร่างกายและจิตใจ จนทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิและละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในโรงเรียน

    กรมอนามัยเผย อาหารทะเล ยังกินได้ แนะปรุงให้สุกทุกเมนู

    กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุขแนะประชาชน ให้กินสุก กินร้อน โดยเฉพาะอาหารทะเลที่นิยมกินแบบยำ หรือปิ้งย่าง ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน

    ร้านขายดอกไม้รับปริญญา ชี้ยอดขายปีนี้ลดลง

    "ร้านดอกไม้และของที่ระลึกที่มาขายช่วงรับปริญญาในมมส.ชี้ยอดขายปีนี้ลดลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ"

    จัดใหญ่ MSU Open house 2020 เปิดบ้านครั้งแรก 17 คณะ 2 วิทยาลัย

    กองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกองกิจการนิสิตและ 17 คณะในมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดกิจกรรม MSU Open House ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-5 ธันวาคม 2563 ในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามทั้ง 2 วิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้มีโอกาสได้รู้จักกับคณะสาขาต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น โดยมีการให้นักเรียนที่สนใจลงทะเบียนเลือกคณะที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ หรือเข้ามาลงทะเบียนหน้างาน

    HashTag ที่น่าสนใจ