More
    Sunday, March 6, 2022
    Home รายงานพิเศษ

    รายงานพิเศษ

    วันลอยกระทง หรือ’วันเสียตัว’ของเยาวชน

    ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ดีงามของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ประเพณีก็เปลี่ยนตาม วันลอยกระทงถูกกล่าวหาว่าเป็นวันเสียตัวของเยาวชน เป็นอย่างนั้นเพราะอะไร ดร.ประเทศ ปัจจังคตา อาจารย์คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะมาให้ข้อคิดเห็นในประเด็นที่ว่า วันลอยกระทงคือวันเสียตัวของเยาวชน ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง “วันลอยกระทงเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาล ต้นกำเนิดคือศาสนาพราหมณ์ จุดประสงค์คือการบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาพระแม่คงคาหรือสมมาน้ำ (สมมาเป็นภาษาอีสานที่แปลว่าขอขมา) ที่ในชีวิตหนึ่งเราใช้น้ำในการดำรงชีวิตและการขอขมา ที่ได้ทำอะไรไม่ดีหรือสกปรกลงในแม่น้ำ เขาก็จะใช้ประเพณีนี้ขอขมาลาโทษต่อเทพผู้รักษาน้ำ  เพราะน้ำคือจุดกำเนิดของชีวิต สิ่งมีชีวิตจะอยู่รอดไม่ได้หากขาดน้ำ ด้วยเหตุนี้เองประเพณีนี้จึงเผยแพร่เข้ามาสู่ไทยเพราะไทยในอดีตก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองท่าเหมือนกันเลยต้องบูชาน้ำในสมัยอดีต และปรับเปลี่ยนตามชนชาติจนทำให้ลอยกระทงเป็นประเพณีของไทยที่งดงามและเป็นประเพณีที่สำคัญ ในประเทศไทยวันลอยกระทงถูกเล่าต่อกันมาในหลายๆตำนานเช่น ตำนานนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์นี่ก็เป็นจุดกำเนิดของลอยกระทงของไทย ในอดีตเล่าว่านางนพมาศเป็นคนริเริ่มการลอยกระทงเพื่อบูชาน้ำ จึงทำให้ประเพณีลอยกระทงของประเทศไทยทำไมถึงมีนางนพมาศ...

    ‘ความกล้า’ ของ ฟลุคเก้า ธีรภัทร์ กับเรื่องราวที่ ‘ไม่กล้า’ บอกใคร

    “เขาด่าเหมือนเราเป็นโรค ด่าในสิ่งที่เรา ‘เป็น’ แต่คนอื่นไม่อยากที่จะเป็น มันเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เราก็โอเคนะที่เป็นกะเทย แต่การเป็นกะเทยสำหรับคนอื่นมันเลวร้าย เราเลยต้องปกปิดตัวเองมา ตลอด” ฟลุคเก้า–ธีรภัทร์ พรมอารักษ์ เอ่ยประโยคนี้ในห้วงหนึ่งของบทสนทนาอันยาวนานนี้ ผมเชื่อว่าใครหลายๆ คนต่างเคยประสบพบเจอกับเหตุการณ์ที่ถูกบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำต่อตัวเราในด้านลบ โดยสิ่งนั้นอาจสร้างบาดแผลบนร่างกายหรือในจิตใจ โดยบาดแผล ‘บนร่างกาย’ นั้นสามารถรับรู้ได้ว่ามันหายหรือยังไม่หาย แต่บาดแผล ‘ภายในจิตใจ’ เรานั้นไม่อาจรับรู้ได้เลย ว่ามันได้หายไปจากตัวเราหรือยัง วันนี้ผมมีนัดกับคนคนหนึ่งที่รู้จักกันมาตั้งแต่เริ่มเรียนปี 1 เขาเรียนอยู่ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการแสดง และเป็นที่รู้จักกันดีในคณะ ทั้งเป็นเด็กกิจกรรมมากความสามารถ...

    เคน The Standard กับ สูตรการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์

    เมื่อผู้บริโภคมีอำนาจมากขึ้นในการเลือกเสพสื่อ คนทำคอนเทนต์จึงกลายเป็นตัวเลือก เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หันมาสื่อสารกันทางโลกออนไลน์มากขึ้น จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของคนทำคอนเทนต์ ไม่เพียงต้องทำให้น่าสนใจ แต่จะทำอย่างไรให้คอนเทนต์เราโดดเด่นจนผู้บริโภคไม่อาจละสายตาจากเราได้ มาร่วมหาคำตอบกับเพจหนังสือพิมพ์สื่อมวลชน และเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร The Standard สำนักข่าวออนไลน์หน้าใหม่ไฟแรง มีความคิดสร้างสรรค์ในการเล่าเรื่อง   การสื่อสารในยุคใหม่ โลกกำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ด้วยการทำคอนเท็นต์ออนไลน์ Facebook Youtube Line today หรือแม้แต่ Netflix ก็เป็นเพียงแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ได้เป็นคนสร้างคอนเทนต์...

    การปรับตัวของสื่อ (ท้องถิ่น) ในยุคดิจิทัล

    เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00-15.00 น. ณ จัมป์สเปซ จ.ขอนแก่น  คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ภายใต้กรรมการจริยธรรม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  จัดทำเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแทนสื่อมวลชนกระแสหลัก สื่อมวลชนส่วนภูมิภาค กับตัวแทนของผู้ผลิตสื่อออนไลน์ นักวิชาการ ผู้แทนหน่วยงานองค์กรภาครัฐ และเอกชน เพื่อนำเสนอแนวคิดการทำงานร่วมกันบนหลักการสิทธิเสรีภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และหลักการประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วมของพลเมือง รวมถึงเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในงานมีผู้เข้าร่วมวงเสวนากว่า...

    ทางม้าลายมีไว้ข้ามถนนหรือกลับรถ?

    จากกรณีที่มีประชาชนและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ไปกลับรถตรงบริเวณทางม้าลายหน้าร้านบาร์ซิวในเขตถนนท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางเทศบาลตำบลท่าขอนยางสร้างขึ้นเพื่อใช้ข้ามถนนและอำนวยความสะดวกสบายสำหรับคนพิการ แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่ามีการขับรถอย่างรวดเร็วและย้อนศร ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้สัญจรไปมาที่ทำถูกกฎหมายและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ไม่สามารถเดินข้ามถนนบริเวณนั้นได้เพราะมีรถจำนวนมาก กลัวว่าจะเกิดอันตราย ซึ่งการกลับรถบริเวณดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจราจรในบริเวณนั้นเป็นอย่างยิ่ง นางสาวธัญภรณ์ บูระพา นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ชั้นปีที่ 3มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบ เล่าว่า ตนพบเจอปัญหาคือรถจักรยานยนต์รอคิวกลับรถในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีรถจำนวนมาก ทำให้เวลาขับรถต้องคอยระวังรถที่จอดรอ ยังมีรถยนต์ขับตามต้องหลบหรือชะลออาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ในกรณีที่ผู้ใช้ถนนไม่คุ้นชินกับเส้นทาง พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ผิดกฎหมายของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเฉพาะในวันที่มีตลาดนัดคลองถม จำนวนรถจะมากกว่าปกติและมีการขับรถสวนเลนจึงมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากยิ่งขึ้น อยากให้ทางตำรวจเข้ามาตรวจสอบ...

    เตือนตั้งแผงลอยรุกล้ำทางเท้า ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 10,000

    ปัญหาการจัดระเบียบร้านค้าและแผงลอยรุกล้ำทางเท้า เป็นปัญหาเรื้อรังของทุกพื้นที่ รวมถึงบริเวณถนนท่าขอนยาง – มมส (2202) เทศบาลตำบลท่าของยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม หลังจากมีการทำโครงการถนนใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถใช้ประโยชน์สาธารณะได้เต็มประสิทธิภาพ จึงเกิดช่องว่างให้เจ้าของอาคาร สร้างและวางสิ่งของเลยขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และด้วยฐานประชากรผู้ใช้เส้นทางมีมากกว่า 5 หมื่นคนต่อวัน ทางเท้าจึงกลายเป็นทำเลทองให้แก่เหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ขายขาจร ทำธุรกิจบนทางเท้าโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมาย ว่าที่ ร.ต.อำนาจ สมน้อย รองปลัดเทศบาลตำบลท่าขอนยาง เปิดเผยว่า โดยปกติไม่สามารถวางของขายบนพื้นที่ทางเท้าหรือถนนได้ แต่ก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ฝ่าฝืน...

    ขอนแก่นพัฒนาเมือง ผุดโครงการ LRT พัฒนาคุณภาพชีวิต กระตุ้นเศรษฐกิจ

      เทศบาลขอนแก่นปรับผังเมืองใหม่ ชูแผนพัฒนาเมือง “ขอนแก่น สมาร์ทซิตี้” ผุดระบบขนส่งมวลชนผลักดันเศรษฐกิจดึงดูดนักลงทุนเอื้อ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวขอนแก่น ด้านบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง เผย ปลายปี 60 ตอกเสาเข้ม รถไฟฟ้ารางเบา นาย ธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผู้อำนายการส่วนการโยธา เทศบาลนครขอนแก่น กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องปรับเปลี่ยนผังเมืองเพราะว่าผังเมืองเดิมหมดอายุตั้งแต่พุทธศักราช 2549 เป็นศูนย์กลางมาจนปัจจุบัน รูปแบบผังเมืองใหม่นี้พัฒนาควบคู่ไปกับ โครงการขอนแก่น สมาร์ทซิตี้ ภายใต้สโลแกน...

    กฎหมายข่มขืนกระทำชำเรากับการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม

    เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการสัมมนาวิชาการการบังคับโทษในคดีข่มขืนกระทำชำเราในภูมิภาคอาเซียน เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมแม่น้ำของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี ผศ.ดร.ดวงเด่น นาคสีหราช เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร...

    คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ผนึกกำลังจัดโครงการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน

    คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการการจัดการเรียนการสอนระหว่างวิชาชีพ (Interprofessional Education; IPE) เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ระหว่างนิสิต 3 คณะ ในรูปแบบการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เพื่อฝึกทักษะการเป็นผู้นำ ผู้สื่อสาร การแก้ไขสถานการณ์และการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม และดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจมนุษย์ โดยได้ลงพื้นที่ในชุมชนปัจฉิมทัศน์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม และบริเวณใกล้เคียงทั้งสิ้น 30 หลังคาเรือน...

    ข่าวน่าสนใจอื่นๆ

    บ้านเด็กชายร่วมพัฒนา เตรียมความพร้อมส่งเด็กออกสู่สังคมอย่างสมบูรณ์

    ช่วงเวลาบ่ายของวันหยุด ฉันและครอบครัวได้มีโอกาสได้ซื้อขนมขบเคี้ยวเพื่อให้เป็นอาหารว่างกับเด็ก ๆในสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในจังหวัดบ้านเกิดและขอเข้าไปติดต่อสอบถามข้อมูลเพื่อประกอบการศึกษา ระหว่างขับรถผ่านประตูทางเข้า มีเด็กชายตัวเล็ก ผอมบาง ท่าทางดูต้องการอะไรบางอย่าง เขาวิ่งตามรถของฉันเข้ามาของด้วยหน้าตาสงสัย และด้วยอากาศค่อนข้างร้อน ฉันจึงจอดรถและเรียกเด็กคนนั้นมาสอบถาม  “ ชื่ออะไรครับ ” เด็กชายอายุราวๆ 7-10  ปี ยิ้มรับและไม่ตอบคำถาม แต่ยิงคำถามกลับทันทีด้วยความเคยชินและดูเหมือนเป็นเด็กที่ทางสถานสงเคราะห์จัดหน้าที่ให้ดูแลสอบถามและให้ข้อมูลกับคนที่เข้ามาเป็นภาษาถิ่นหรือภาษาอีสานว่า  “ มาเฮ็ดหยังกันครับ ” (มาทำอะไรกัน) ได้ยินแบบนั้นฉันจึงพูดภาษาถิ่นกับน้องเพื่อสร้างความคุ้นเคย บทสนทนาจะได้ดูไม่เครียดจนเกินไป "มาหาแม่แอน ศาลากาแฟอยู่หม่องได๋ ฮู้บ้อ"(มาหาแม่แอน...

    กระเป๋าลายนกฮูก จากธุรกิจครอบครัวสร้างรายได้สู่คนในชุมชน

    การผลิตกระเป๋าผ้าลายนกฮูกของชาวบ้าน บ้านลาดเจริญ หมู่ที่ 22 ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ ในครอบครัว แต่ปัจจุบันมีออเดอร์เข้ามามากขึ้นครั้งละ 500-1,000 ใบต่อครั้ง จึงชักชวนคนในหมู่บ้านเข้ามาช่วยงานโดยการจ้าง ทำให้ชาวบ้านที่นี่มีรายได้เสริมเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนหลังจากหมดฤดูทำนา โดยกระเป๋าผ้าลายนกฮูกจะทำด้วยผ้าแคนวาส มีลักษณธคล้ายผ้ากระสอบหรือ ผ้าดิบที่มีความถี่ในการทอที่หนากว่า เนื้อผ้ามีความละเอียดไม่ขาดง่ายและดูสวยงามกว่ามาก เพราะด้วยความที่ให้ความรู้สึกถึงความดิบ เก่า เท่ ส่วนใหญ่ผ้าแคนวาสถูกนำมาทำเป็นทั้งกระเป๋าผ้า รองเท้า และเสื้อผ้า ตามการอลักษณะของสินค้านั้นๆ ลวดลายของกระเป๋าหรือเสื้อผ้าที่ปักเป็นลายนกฮูกจะมีความหมายในเรื่องของการประสบความสำเร็จในชีวิต...

    สำนักงานก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง ทุ่มงบกว่า 268 ล้านบาท ปรับปรุงถนนสายมหาสารคาม-อ.ยางตลาด

      สำนักงานก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เร่งขยายความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 213 เส้นทางยาว 10 กิโลเมตรด้วยงบประมาณกว่า 268 ล้านบาท เพื่อความสะดวกของผู้ใช้รถใช้ถนน ทั้งเล็งลดปัญหาอุบัติเหตุ–น้ำท่วมให้กับชาวบ้านที่มีครัวเรือนในถนนสายมหาสารคาม-อ.ยางตลาด นายจำรัส เขื่อนแก้ว ผู้ช่วยนายช่างโครงการปรับปรุงถนนสายมหาสารคาม-อ.ยางตลาด ตอน 3 เปิดเผยว่า โครงการปรับปรุงถนนสายมหาสารคาม-อ.ยางตลาด ตอน 3 เป็นการปรับปรุงช่องจราจรจาก 2ช่องทางเป็น 4 ช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของผู้ใช้เส้นทาง เพราะเส้นทางนี้มีการใช้งานและมีรถสัญจรผ่านเป็นจำนวนมาก โดยสูงถึง 30,927 คันต่อวัน รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป 1,624 คันต่อวัน ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้มีแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวในเส้นทางนี้เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณดังกล่าวเพื่อปรับปรุงถนนให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย นายจำรัส กล่าวต่อว่า มีการปรับปรุงถนนขยายเส้นทางจราจรเป็นแบบ 4 ช่องจราจรไป-กลับ ขนาดความกว้างของผิวจราจรช่องละ 3.50 เมตร มีไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร ในช่วงย่านชุมชนแบ่งแยกทิศทางจราจรโดยใช้เกาะกลางแบบยกสูง กว้างประมาณ 4.20 เมตร พร้อมทางเท้าและติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเนื่องจากได้รับงบประมาณจากกรมทางหลวงกว่า 268,198,013 บาท และมีการออกแบบการวางท่อระบายน้ำเพื่อเพิ่มมาตรฐานของท่อให้ดีขึ้นอีกด้วย เนื่องจากช่วงที่ยังไม่มีโครงการสร้างถนนและวางท่อประปา ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพราะท่อเก่ามีขนาดเล็ก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณข้างทางจึงมีการถมดินให้สูงกว่าพื้นถนนเพื่อป้องกันน้ำท่วม ดังนั้นทำให้น้ำไหลมาท่วมถนน นางพิสมัย เกียมพรม ชาวบ้านบ้านสระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ก่อนมีโครงการปรับปรุงถนนสายมหาสารคาม-อ.ยางตลาด พื้นที่บริเวณนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เนื่องจากถนนแคบ การจราจรไม่สะดวก เพราะเป็นเขตชุมชนและเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง ส่งผลให้ชาวบ้านเดือดร้อน ดังนั้นจึงมีความคิดเห็นว่าถ้าหากสร้างถนนเสร็จแล้ว ความปลอดภัยและความสะดวกสบายจะเข้าสู่ชุมชน “เขตก่อสร้างเป็นเขตชุมชน มีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก และมีสถานที่ท่องเที่ยวคือวัดพระยืน มีคนมากราบไหว้ในแต่ละวันค่อนข้างมาก รถสัญจรผ่านเยอะจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ขณะทำการก่อสร้างก็มีฝุ่นมารบกวนบ้าง ถนนลื่นบ้าง แต่เมื่อสร้างถนนเสร็จ จะเกิดความสะดวกในการสัญจรมากขึ้น...